การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวลนรดิศวิทยาคม รัชมังคลาภิเษก The Development of Computer Assisted Instruction in Thai Subject based On Literature-Based Approach for Online Learning During COVID-19 Pandemic for Mathayomsuksa 6 of Nuannorradit Wittayakhom Rachamangkhalapisak School
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 ที่เรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน ในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 27 คน เป็นการคัดเลือกแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน 2) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test for Dependent Samples) ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 86.04/85.30 2) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์วิชาภาษาไทย ตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์ วิชาภาษาไทยตามแนวทางการสอนโดยใช้วรรณคดีเป็นฐาน ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กรมศิลปากร. (2558). ประวัติศาสตร์ชาติไทย. กรุงเทพมหานคร : รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1997) จำกัด.
กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับที่ 1 สาระสำคัญหลักสูตร. นนทบุรี : บริษัท พี.พี.เอส. กิจเจริญ จำกัด
กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก. (2552). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิถีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติรัชมังคลาภิเษก พุทธศักราช 2552 ฉบับที่ 2โครงสร้างและคำอธิบายรายวิชา กลุ่มสาระการเรียนรู้. นนทบุรี : บริษัท พี.พี.เอส กิจเจริญ จำกัด
ชุดาณัฏฐ์ แสนเหลาเจริญยิ่ง. (2559). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยโปรแกรมMicrosoft Producer เรื่อง การปฏิบัติเบอเกอรี่เบื้องต้นโดยใช้เทคนิคการสอนแบบการเรียนรู้จากการทำงาน (Work-based Learning) สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจสมุทรปราการ . วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
ประภาส วิวรรธมงคล. (2555). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง อาหารท้องถิ่นปลาหม่ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพระแม่ประจักษ์ สุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
สุนันทา อาจศัตรู, สนิท สัตโยภาส และชาตรี มณีโกศล. (2559). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วรรณคดีกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้าแบบบูรณาการตามแนวคิดวรรณคดีเป็นฐาน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน.วารสารบัณฑิตวิจัย. 7(1),43-58
Edward L. Thorndike, Robert L., and Hagan Elizabeth. (1969) .Measurement and Evaluation in Psychologyand Education. 3rd ed. New York : John Willey