การศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง ต่อความสามารถในการเดินด้วยตนเอง ของนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง Effect of Dohsa-Hou for disabled children in Japanese Program and backward walking exercise for developing the ability to walk on their own of students with Physical, Motor functioning or Health Impairments, Regional Special Education Center 4 Trang.

Main Article Content

อรจิรา มณีรัตนสุบรรณ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง ต่อความสามารถในการเดินด้วยตนเองของนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นนักเรียนบกพร่องทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหวหรือสุขภาพที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเด็กสมองพิการ มีปัญหาด้านการทรงตัวเข้ารับบริการ ห้องเตรียมความพร้อมกายภาพบำบัด ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 4 จังหวัดตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โดยวิธีเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลัง 2) แผนการสอนเฉพาะบุคคล (Individual Implementation Plan: IIP) และ 3) การทดสอบการเดินในเวลา 1 นาที (1 minute walk test, 1MWT ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยระยะทางที่นักเรียนเดินด้วยตนเองก่อนใช้โปรแกรมเท่ากับ 3.5 เมตร
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 หลังใช้โปรแกรมเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ มีค่าเฉลี่ยระยะทางที่นักเรียน เดินด้วยตนเองหลังใช้โปรแกรมเท่ากับ 8.5 เมตร ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.71 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความต่างก่อนและหลังใช้โปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลังมีค่าความต่างเท่ากับ 5 เมตร สรุปผลการวิจัยได้ว่าโปรแกรมการฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น (โดสะโฮ) ร่วมกับการฝึกเดินถอยหลังเมื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ส่งผลให้นักเรียนมีการทรงตัวในขณะเดินมั่นคงขึ้น การลงน้ำหนักของฝ่าเท้าขณะเดินดีขึ้นเดินด้วยตนเองได้ระยะทางที่มากขึ้น


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, 2563, รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สืบค้นข้อมูล http://dep.go.th/Content/View/6615/1

กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักงานพัฒนาการกีฬา และนันทนาการ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. 2552. การวิเคราะห์ลักษณะการเดินไปข้างหน้าและเดินถอยหลังเพื่อออกกำลังกาย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ, 2562, ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2562 เรื่อง นโยบายและจุดเน้นการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564

งานข้อมูลสารสนเทศ กลุ่มแผนและงบประมาณ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน และคณะ, 2562, ผลการรักษาด้วยเทคนิค Prolonged passive stretching ตามด้วยเทคนิค Repeated Contractions ต่อการใช้พลังงานในการเดินในเด็กสมองพิการ ประเภท Spastic diplegia ที่มีรูปแบบการเดิน Crouch gait ร่วมกับ Apparent equinus. : วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน; 1-13

พรรณี ปึงสุวรรณ. (2559). กายภาพบำบัดในเด็กสมองพิการ. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 3-61.

พรรณี ปึงสุวรรณ และคณะ, (2555). ความเที่ยงของการทดสอบการเดินในเวลา 1 นาทีในเด็กสมองพิการ. : วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 87-96

ศิริพร ละม่อมอาภรณ์, (2556). ผลการฝึกเดินบนสายพานเลื่อนในเด็กสมองพิการ. :

สำนักวิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สมาคมโอซาก้า โดสะโฮ โซไซอิตี้. (2557). โดสะโฮ การฝึกการเคลื่อนไหวเด็กพิการแบบญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : โอยูคิว คาร์พัส โรตารี่ จำกัด.

Dr.Preeti Gazbare et.al. Effect of backward walking training on balance and walking speed in children with spastic cerebral palsy: A pilot study. International journal of basic and applied research 2019;9 : 306-13. Germana Cappellini, et.al. Backward walking highlights gait asymmetries in children with cerebral palsy. International Union of Physiological Sciences 2017;38 : 1153 – 65.

McDowell BC, Kerr C, Parkes J, Cosgrove A. Validity of a one-minute walk test for children with cerebral palsy. Dev Med Child Neurol2005; 47 : 744-48.