การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเล่นทรายเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแพงสะพัง Arrangement of Learning Experiences Using Sand Play Activities to Develop the Ability of Using Small Muscles of Kindergarten Year 2 Students Ban PhaengSaPhang School

Main Article Content

รุ่งนภา อัมรัตน์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแพงสะพัง ก่อนและหลังได้รับจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเล่นทราย


           ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ชาย-หญิง  อายุ 4-5 ปี ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563  กลุ่มเครือข่ายเวิน


พระบาท-รามราช กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ชาย-หญิง อายุ 4-5 ปี


ที่กำลังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนบ้านแพงสะพัง จำนวน 19 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งเป็นนักเรียนที่ผู้วิจัยเป็นครูประจำชั้น และเป็นนักเรียนที่มีพัฒนาการใกล้เคียงกันกับนักเรียนในกลุ่มเครือข่ายเวินพระบาท-รามราช


           เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1). แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้กิจกรรมการเล่นทรายเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2 โรงเรียนบ้านแพงสะพังจำนวน 13 แผน ใช้เวลาประมาณ แผนละ 40 นาที 2). แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2 แบ่งออกเป็น 3 ด้าน แต่ละด้านวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กจำแนกออกเป็น 4 กิจกรรม ดังนี้ ด้านที่ 1 วัดความสามารถด้านการควบคุมในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ด้านที่ 2 วัดความสามารถด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ด้านที่ 3 วัดความสามารถด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ผู้วิจัยได้ดำเนินการทดลองตามแผนการวิจัยแบบ One-Group  Pretest-Posttest  Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความสามารถด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็ก ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้  t–test  แบบ  Dependent  Sample


           ผลการวิจัยพบว่า


               ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2 หลังได้รับ


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเล่นทราย นักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่2 โรงเรียนบ้านแพงสะพังมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อเล็ก สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


 


ABSTRACT


           The purpose of this research was to compare the ability of using small muscles of Kindergarten Year 2 students at Ban Phaeng Sa Phang School. before and after receiving from the learning experience using sand play activities


           Population and sample The population used in this research is male and female kindergarten year 2 students aged 4-5 years who are attending kindergarten year 2, semester 1 of the 2020 academic year in Wen Phrabat-Ramrat network group.sample group Used in this research were male-female kindergarten year 2 students aged 4-5 years. who are studying in Kindergarten Year 2, Semester 1, Academic Year 2020, Ban Phaeng Sa Phang School 19 people, who were obtained by selective sampling (Purposive Sampling), who were students for whom the researcher was the homeroom teacher. and is a student whose development is similar to that of the student in the Wen Phrabat-Ramrat network group.


           The tools used in this research consisted of 1). An experience plan using sand play activities to develop the ability of using small muscles of kindergarten 2 students. Ban Phaeng Sa Phang School, with 13 plans, takes about 40 minutes per plan. 2). The test to measure the ability to use the small muscles of the students in Kindergarten Year 2 divided into 3 areas, each side measuring the ability to use the small muscles classified into 4 activities as follows: The first side measures the ability. The control aspect in the use of small muscles, part 2 measured the ability of dexterity in using the small muscles, and the third part measured the ability of hand-eye coordination This research is a quasi-experimental research. The researcher conducted the experiment according to the research plan of One-Group Pretest-Posttest Design. The statistics used for data analysis were mean, standard deviation. and compare the difference in the scores on the ability to use small muscles Before and after the experiment using t–test as Dependent Sample.


           The results showed that


               The ability to use small muscles of kindergarten grade 2 students after receiving


Organizing learning experiences using sand play activities Kindergarten year 2 students Ban Phaeng Sa Phang School has the ability to use small muscles. statistically significantly higher than before at the .05 level.

Article Details

How to Cite
อัมรัตน์ ร. . . (2022). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเล่นทรายเพื่อพัฒนาความสามารถ ด้านการใช้กล้ามเนื้อเล็กของนักเรียนระดับอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแพงสะพัง: Arrangement of Learning Experiences Using Sand Play Activities to Develop the Ability of Using Small Muscles of Kindergarten Year 2 Students Ban PhaengSaPhang School. คุรุสภาวิทยาจารย์, 3(3), 17–34. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247242
บท
บทความวิจัย