การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง และความสุขในการเรียนรู้ รายวิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา The Organization of Learning Activities Using a Thinking-Pursuing-Knowing Model to Develop the Ability to Compose Poems and Happiness in Learning Thai Language Courses for Elementary School Students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ 2) ศึกษาความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ และ 3) ขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง และความสุขในการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 30 คน และกลุ่มขยายผลที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย ใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง รายวิชาภาษาไทย เรื่อง การแต่งกาพย์ยานี 11 3) แบบประเมินความสุขในการเรียนรู้ และ 4) แบบบันทึกสะท้อนความสุขในการเรียนรู้ โดยนักเรียนเป็นผู้บันทึกและประเมินตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที และการเขียนอนุทิน (Journal Writing) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสุขในการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็น ผู้ประเมินตนเองหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากและ 3) ผลการขยายผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ คิด-ใฝ่-รู้ พบว่า ความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองหลังการจัดกิจกรรม สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ ความสุขในการเรียนรู้โดยนักเรียนเป็นผู้ประเมินตนเองหลังการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
ภาษาไทย
กลุ่มสารสนเทศ สนผ., สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อบริหาร
การศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. 1 กันยายน 2563, จาก https://data.bopp-obec.info/emis/schooldataview_student.php?School_ID=1011570133&
ปฤษณา แจ่มแจ้ง. (2554). การพัฒนาทักษะการแต่งคำประพันธ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้ชุด
การสอนการแต่งคำประพันธ์ ตามแนววัฏจักรการเรียนรู้ (4MAT). วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษา
มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วัดและประเมินผลทางการศึกษา. (2562). รายงานการประเมินผลมาตรฐานและตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทย โรงเรียนอนุบาลพระสมุทรเจดีย์ ปีการศึกษา 2562. สมุทรปราการ: งานบริหารวิชาการ.
ศิริชัย กายจนวาสี. (2547). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี. (2529).
การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอน
ปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
สุดหทัย รุจิรัตน์. (2558). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริม
การเรียนรู้อย่างมีความสุขของนักเรียนระดับประถมศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2541). ทำไมต้องปฏิรูปการเรียนรู้: การปฏิรูปการเรียนรู้ตามแนวคิด 5 ทฤษฎี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: หจก. ไอเดีย สแควร์.
สุปราณี นาคราช. (2547). การสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนร้อยกรอง กาพย์สุรางคนางค์ 28
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดบ้านทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อนัญญา อ่อนพุทธา. (2554). การสร้างแบบฝึกทักษะ เรื่อง การแต่งคาประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพ
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล 3 ศรีทรายมูล เทศบาลนครเชียงราย. วิทยานิพนธ์
ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
อัจฉรา ชีวพันธ์. (2554). พัฒนาทักษะภาษา พัฒนาความคิด ด้วยกิจกรรมการเล่นประกอบการสอนภาษาไทย.
พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: บริษัท วี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.
ภาษาต่างประเทศ
Cohen, L., Manion, L. & Morrison, K. (2000). Research methods in education.
(5th ed.).London: Rutledge.
UNESCO. (2007). Education for Sustainable Development: Linking Learning and Happiness.
Bangkok: UNESCO Bangkok.