การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ” เพื่อส่งเสริมสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The Devlopment of Selective Course on Preservation Local Thachana Hard Clams to Enhance Scientific Competency for Matthayomsuksa III Students

Main Article Content

จินตนา ยังจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ”  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 34 คน  เป็นเวลา 40 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติม “รักษ์หอยขาวท้องถิ่นท่าชนะ” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แผนการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประเด็นสนทนากลุ่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์      ทางการเรียน และแบบประเมินสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test แบบ Dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรรายวิชาเพิ่มเติมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย ความสำคัญและความจำเป็นของการพัฒนาหลักสูตร หลักการ จุดหมายของรายวิชา คำอธิบายรายวิชา ผลการเรียนรู้ โครงสร้างรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน  2) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องราวหอยขาวในท้องถิ่นท่าชนะ รู้จักบริบทท้องถิ่นท่าชนะ ทำให้นักเรียนมองเห็นความสำคัญ วิถีชีวิตของหอยขาว และบ่มเพาะการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากหอยขาวให้ยั่งยืน และ พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ หลังใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย