การพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) The Development of the Ability to Create Innovation in Thai language of Grade 12 Students Using Constructivist Approach with the EduLearn Digital Learning Platform.

Main Article Content

เชรษฐรัฐ กองรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายมัธยมศึกษา (มอดินแดง) จำนวน    38 คน ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ระหว่างปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) เครื่องมือที่ใช้ใน     การสะท้อนผลการปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน แบบบันทึกพฤติกรรม    การจัดการเรียนรู้ของผู้สอน และแบบบันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทย (Scoring Rubric) และ   2) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ร้อยละ (%) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)


ผลการวิจัย พบว่า


  1. ความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) จากการประเมินผลงาน นักเรียน คะแนนผลงานชิ้นที่ 1 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 13.53 คิดเป็นร้อยละ 67.63 และผลงานชิ้นที่ 2 มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 17.21 คิดเป็นร้อยละ 86.05 ซึ่งคะแนนความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทยในผลงานชิ้นที่ 2 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากผลงานชิ้นที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 18.42

  2. ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.57, S.D.=0.54)

จากผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ร่วมกับการใช้แพลตฟอร์ม การเรียนรู้ดิจิทัล (EduLearn) สามารถพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางภาษาไทยของผู้เรียนได้ดี อันจะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาต่อยอดความรู้ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษณา วาทโยธา และสุมาลี ชัยเจริญ. (2562). ความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนที่เรียนด้วยสิ่งแวดล้อมทางการ

เรียนรู้มัลติมีเดียร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์

เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยกระบวนการเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.

Humanities, Social Sciences and arts, 12(2), 499-518.

เขมรัตน์ บุญหล่อสุวรรณ์. (2563). การศึกษาประสบการณ์การใช้งานดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนการสอน

ของครู. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2561). ยูบิควิตัสเทคโนโลยีที่ส่งเสริมการเรียนรู้: การออกแบบที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้

สำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการศึกษา

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ใจทิพย์ ณ สงขลา และศิริเดช สุชีวะ. (2564). การเปลี่ยนผ่านด้วยดิจิทัล: แพลตพอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลแห่งชาติ.

วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้, 1(1), 1-13.

เชรษฐรัฐ กองรัตน์. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ห้องเรียนกลับด้านตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อการคิด

สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 6(2), 178-195.

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง, ธิดาทิพย์ ปานโรจน์ และจิโรจ โชติศิริคุณวัฒน์. (2562). ปัจจัยการยอมรับและการใช้งาน

แพลตฟอร์มเทคโนโลยีการทำงานร่วมกันของ กลุ่มบุคคลเจเนอเรชั่นซี. วารสารวิชาการ Veridian

E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ),

(6), 360-387.

พินันทา ฉัตรวัฒนา. (2564). นวัตกรรมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ด้วยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อส่งเสริม

การศึกษาในผู้เรียนยุคดิจิทัล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 20(1), C1-C9.

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2563. ขอนแก่น:

โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา)

วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.

วิจิตรา ศิริวงศ์ และประสิทธิ์ สระทอง. (2562). การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 20(2), 199–213.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2563,

จาก http://www.curriculumandlearning.com/upload/Books/การสร้างสรรค์นวัตกรรม_

pdf

สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง

มั่นคง และยั่งยืน. กรุงเทพฯ: สถาบัน.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. (2564). แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนากำลังคนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์,

(1), 1-15.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามตามมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2554). เทคโนโลยีการศึกษา: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น:

คลังนานาวิทยา.

_______. (2559). การออกแบบการสอน: หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น:

เพ็ญพรินติ้ง.

สุมาลี ชัยเจริญ และคณะ. (2563). กรอบแนวคิดกระบวนการจัดการเรียนรู้โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย

ขอนแก่นที่มุ่งสร้างนวัตกรที่มีความคิดสร้างสรรค์ (SATIT KKU Creative Innovator Framework). ขอนแก่น: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (เอกสารอัดสำเนา)

สุวิมล ว่องวาณิช. (2559). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Kemmis, & McTaggart, R. (1988). The Action research planner. (3rd ed). Geelong: Deakin

University, Australia.