การปรับพฤติกรรมการรอคอยของเด็กออทิสติกโดยใช้ตารางกิจกรรม Adjusting the Waiting Behavior of Children with Autism using Activity Schedules
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับพฤติกรรมการรอคอย ของเด็กออทิสติกที่มีปัญหาพฤติกรรมไม่รู้จักการรอคอย อายุ 10 ปี จำนวน 1 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการสอนได้แก่ กิจกรรมกล้ามเนื้อมัดเล็ก กิจกรรมการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน กิจกรรมทางวิชาการ และกิจกรรมทักษะจำเป็นพิเศษ และแบบบันทึกความถี่พฤติกรรมการรอคอยของนักเรียนออทิสติก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัธยฐาน ผลการวิจัยพบว่า ตารางกิจกรรม ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นสามารถลดพฤติกรรมการรอคอยของเด็กออทิสติกกลุ่มเป้าหมายได้ โดยใช้ฝึกซ้ำ ๆ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลระหว่าง A1 แสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ มีค่าความถี่เฉลี่ย 2.8 ในช่วงที่ใช้วิธีการจัดกระทำ (B) ก่อนการจัดกิจกรรมการสอนเวลา 4 สัปดาห์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ พบว่า สัปดาห์ที่ 2 แสดงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2 สัปดาห์ที่ 3 แสดงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.6 สัปดาห์ที่ 4 แสดงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.4 สัปดาห์ที่ 5 แสดงพฤติกรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 1.4 และสัปดาห์ที่ 6 A2 พฤติกรรมการรอคอยหลังการทดลองลดลงโดยมีค่าความถี่เฉลี่ยเป็น 0.6 โดยใช้แบบบันทึกพฤติกรรมช่วงเวลาพบว่า การใช้ชุดตารางกิจกรรม มีพฤติกรรมการรอคอยลดลง
Abstract
This research aims to adjust the waiting behavior of children with autistic behavior problems. One 10-year-old is derived from a specific selection. Tools used to gather information include lesson plans, including small muscle activity. Daily self-help activities Statistics used to analyze the data include percentages, medians, and findings that activity tables developed by researchers can reduce the waiting behavior of targeted autistic children. Repeated training was performed 30 minutes a day, 5 days a week, for 4 weeks when data analysis during A1 showed unwanted behavior. It was found that week 2 showed behavior with an average of 2 weeks, week 3 showed behavior with an average of 1.6, week 4 showed behavior with an average of 1.4, week 5 showed behavior with an average of 1.4, and week 6 A2. Reduced waiting behavior
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น