การวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย The Causal Relationship Model of Factors Influencing on Burnout Syndrome of Government Teacher under the Secondary Educational Service Area Office Sukhothai

Main Article Content

อัครพล พรมตรุษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบปัจจัยสาเหตุ ตรวจสอบความสอดคล้อง และศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวมของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ ข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จำนวน 136 ตัวอย่าง สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multistage Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดปัจจัยที่มีต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครู จำนวน 20 ข้อ และแบบวัดภาวะหมดไฟในการทำงาน จำนวน 22 ข้อ ทำการหาประสิทธิภาพเครื่องมือได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง .67 – 1.00  และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .919 และ .890 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( = .675, df = 1, p-value = 0.4112, CFI = 1.000, TLI = 1.018, RMSEA = .011) โดยปัจจัยด้านความสัมพันธ์เชิงลบกับเพื่อนร่วมงานมีขนาดอิทธิพลรวมสูงสุดเท่ากับ .782 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์เชิงลบกับเพื่อนร่วมงานมีอิทธิพลทางตรงสูงสุดเท่ากับ .685 ปัจจัยด้านความสัมพันธ์เชิงลบกับผู้บังคับบัญชามีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดเท่ากับ .403

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา แสวงดี. (2554). ประมวลหลักปฏิบัติองค์การอนามัยโลกว่าด้วยการสรรหาบุคลากรด้านสุขภาพเ

ข้าทำงานระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์จํากัด.

จารุวรรณ ทองขุนดา, พร้อมพิไล บัวสุวรรณ และมีชัย ออสุวรรณ. (2565). ภาวะหมดไฟของครูที่ไม่มีวิทย

ฐานะสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 วิทยาเขตรัชโยธิน. Journal of MCU Ubon Review. 7(2), 1083 – 1096.

ดวงใจ ชนะสิทธิ์ และพงศ์เทพ จิระโร. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการส่งเสริมจิตวิญญาณความเป็นครู

ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏภูมิภาคตะวันตก. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์

วิจัย. 11(1), 290 – 309.

ทศพล บุญธรรม. (2547). ภาวะความเครียดจากการทำงานของครูระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา

นครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนพร พงศ์บุญชู. (2559).อิทธิพลกำกับของภาวะผู้นำที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดในการ

ทำงาน ภาวะหมดไฟในการทำงานและพฤติกรรมการทำงานที่เบี่ยงเบน (การค้นคว้าอิสระ

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพศาล วรคำ. (2555). การวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. มหาสารคาม : ตักสิลาการพิมพ์.

มาลิสา คล่องแคล่ว, พงศเทพ จิระโร และภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ

ของปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของครู. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา.

(117), 90 – 96.

ศรีสกุล เฉียบแหลม และเพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. (2562). ภาวะหมดไฟในการทำงาน. วารสารแพทย

สารทหารอากาศ. 66(2), 44-52.

อุดมลักษณธ์ เมฆาวณิชย์. (2556). ความเครียดของข้าราชการครูในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (กลุ่มอาเภอพนัสนิคม) (ปัญหาพิเศษนี้รัฐประศาสนศาสตร

มหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Ding, L., Velicer, W.F., & Harlow, L.L. (1995). Effects of estimation methods, number

indicators per factor, and improper solutions on structural equation modeling fit indices. Structural Equation Modeling. 2, 119 - 144.

Maslach C, Jackson, S. E. (1981). The measurementof experienced burnout. J Occup

Behav.2, 99-113.

rior, R. Burnout is an official medical diagno-sis, World Health Organization

says.CNNupdate May 28, 2019.