รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหาร สถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร Digital Leadership Development Model for Higher Education Institutions Administrators in Bangkok Metropolitan

Main Article Content

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัย
แบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 14 สถาบัน ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 อธิการบดีและรองอธิการบดี จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด กลุ่มที่ 2 คณาจารย์และบุคลากร จำนวน 430 คน รวมทั้งสิ้น 462 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาและสภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัลของผู้บริหารมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบหลัก คือ (1) ความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ (2) กลยุทธ์การสื่อสาร (3) การหลอมรวมระบบบริหารที่เชื่อมโยง (4) การสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษา และ (5) บรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้เชิงดิจิทัล 2) วิธีการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การเรียนรู้ด้วยตนเองเชิงดิจิทัล (2) การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ และ (3) การฝึกอบรมผ่านระบบออนไลน์ 3) เป้าหมายการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การสร้างแรงบันดาลใจ (2) การสร้างความมั่นใจ (3) การรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง (4) การจัดสรรเวลาในการเข้าถึง (5) การนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และ (6) การสร้างความเสมือนจริง 4) คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงดิจิทัล คือ (1) การเข้าใจถึงความหลากหลาย (2) ความสามารถในการโน้มน้าว (3) การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (4) ทักษะการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (5) กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (6) ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ และ (7) การเรียนรู้ได้อย่างคล่องตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดรุณี ปัญจรัตนากร, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, อุษา งามมีศรี และ พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). แนวทางการบริหารงานระบบไอซีทีเพื่อพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในสถาบันอุดมศึกษา. การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา. 28-29 มกราคม 2564. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา. 3892-3907.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ดรุณี ปัญจรัตนากร และอุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ. (2563). คุณลักษณะของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทในการทำงานของบุคลากรทางการศึกษายุคประเทศไทย 4.0. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 11(1), 48-59.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ และสุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล. (2565ก). การศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 3(2), 33-49.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, ประพัฒน์พงศ์ เสนาฤทธิ์ และสุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล. (2565ข). แนวทางพัฒนาระบบไอซีทีเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลในประเทศไทย. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2(2), 109-130.

พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล และสมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2564). ภาวะผู้นำทางวิชาการเชิงสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของผู้บริหารมืออาชีพในสถาบันอุดมศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. 25-26 มีนาคม 2564. กรุงเทพฯ: ควอท. 137-148.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2548). หลักและพื้นฐานการอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล และพงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลในระดับอุดมศึกษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. การประชุมวิชาการสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 16. 25-26 มีนาคม 2564. กรุงเทพฯ: ควอท. 167-179.

Aboobaker, N., & KA, Z. (2021). Digital Learning Orientation and Innovative Behavior in the Higher Education Sector: Effects of Organizational Learning Culture and Readiness for Change. International Journal of Educational Management, 35(5), 1030-1047.

Busse, R., & Weidner, G. (2020). A Qualitative Investigation on Combined Effects of Distant Leadership, Organisational Agility and Digital Collaboration on Oerceived Employee Engagement. Leadership & Organization Development Journal, 41(4), 535-550.

Caredda, S. (2021). Digital Leadership. Access on: November 21, 2022. Available from: https://sergiocaredda.eu/organisation/whats-new-about-digital-leadership/

Carvalho, A., Alves, H., & Leitão, J. (2022). What research tells us about leadership styles, digital transformation and performance in state higher education?. International Journal of Educational Management, 36(2), 218-232.

Chandra, P., Tomitsch, M., & Large, M. (2021). Innovation Education Programs: a Review of Definitions, Pedagogy, Frameworks and Evaluation Measures. European Journal of Innovation Management, 24(4), 1268-1291.

Daly, E., Mohammed, D., Boglarsky, C., Blessinger, P., & Zeine, R. (2019). Interaction Facilitation and Task Facilitation need Optimization in Higher Education Institutions. Journal of Applied Research in Higher Education, 12(3), 403-412.

Erhan, T., Uzunbacak, H.H., & Aydin, E. (2022). From Conventional to Digital Leadership: Exploring Digitalization of Leadership and Innovative Work Behavior. Management Research Review, 45(11), 1524-1543.

Fumasoli, T., Barbato, G., & Turri, M. (2020). The determinants of University Strategic Positioning: a Reappraisal of the Organisation. Higher Education, 80, 305–334.

Gil, A.J., Rodrigo-Moya, B., & Morcillo-Bellido, J. (2018). The Effect of Leadership in the Development of Innovation Capacity: A Learning Organization Perspective. Leadership & Organization Development Journal, 39(6), 694-711.

Håkansson Lindqvist, M., & Pettersson, F. (2019). Digitalization and School Leadership: on the Complexity of Leading for Digitalization in School. International Journal of Information and Learning Technology, 36(3), 218-230.

Lyapina, I., Sotnikova, E., Lebedeva, O., Makarova, T., & Skvortsova, N. (2019). Smart Technologies: Perspectives of Usage in Higher Education. International Journal of Educational Management, 33(3), 454-461.

Phakamach, P., Wachirawongpaisarn, S., & Charoenchue, W. (2021). Digital Leadership: Definition, Skills, Roadmap and Organization’s Digital Transformation Drives. Proceedings of The Second RMUTR International Conference 2021, July 7-9, 2021. Thailand: Rajamangala University of Technology Rattanakosin. 267-277.

Rehman, U.U., & Iqbal, A. (2020). Nexus of Knowledge-Oriented Leadership, Knowledge Management, Innovation and Organizational Performance in Higher Education. Business Process Management Journal, 26(6), 1731-1758.

Sinlarat, P. (2020). The Path to Excellence in Thai Education. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management, 1(2), 60-75.

Tran, L.T., & Nghia, T.L.H. (2020). Leadership in International Education: Leaders’ Professional Development Needs and Tensions. Higher Education, 80, 479–495.

Trivedi, S.K., Patra, P., & Singh, S. (2022). A study on Intention to Use Social Media in Higher Education: the Mediating Effect of Peer Influence. Global Knowledge, Memory and Communication, 71(1/2), 52-69.

Vial, G. (2019). Understanding Digital Transformation: a Review and a Research Agenda. The Journal of Strategic Information Systems, 28(2), 118-144.