การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามรูปแบบ PLPSA + PBL Learning Management Design Emphasizing Active Learning Process to Develop Student Competency According to the PLPSA + PBL Model
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเชิงรุก (Active Learning) เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนตามรูปแบบ PLPSA + PBL Model ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้เรียนรู้ (Learner person) ผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative Co-creator) ที่ผ่านกระบวนการพัฒนาความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) เจตคติ (Attitude) และคุณลักษณะ(Attribute) พื้นฐานใน 3 ขั้นตอน โดย Step 1 ใช้กระบวนการ PLPSA ใน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 นำเสนอเนื้อและกำหนดประเด็น (Presentation and Specify Objective) ขั้นที่ 2 ลงมือเรียนรู้/ปฏิบัติ (Learning and Practice) ขั้นที่ 3 ประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (Performance Assessment) ขั้นที่ 4 การสรุป (Summary) ขั้นที่ 5 การประยุกต์ใช้ความรู้/ทดสอบ(Apply/Assessment of Learning) 2) Step 2 การนำความรู้ ทักษะ เจตคติและคุณลักษณะ ที่ผ่านการพัฒนาแล้วไปสู่การจัดทำโครงงาน/ชิ้นงาน/ภารงาน ด้วยรูปแบบ PBL ใน 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การกำหนดสถานการณ์/โครงงาน (Define) ขั้นที่ 2 การวางแผน/ออกแบบ/กำหนดขั้นตอนการทำงาน(Plan) ขั้นที่ 3 การลงมือปฏิบัติ/สร้างสรรค์ (Do) ขั้นที่ 4 การทบทวนตรวจสอบ/ปรับปรุง (Review) ขั้นที่ 5 การนำเสนอผลงาน (Presentation) สำหรับชิ้นงานใน Step 2 นั้นผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะหลักที่เชื่อมโยงกับเนื้อหา ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะที่เชื่อมโยงกับ Step 1
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น