การพัฒนาศักยภาพครูสอนภาษาเยอรมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Professionalization of German Language Teachers in Southeast Asia

Main Article Content

ลาวินี ปุรณะสกุล

บทคัดย่อ

จากการสำรวจการเรียนการสอนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศทั่วโลกโดยกระทรวงการต่างประเทศแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีในปี ค.ศ. 2020 พบว่ามีผู้เรียนภาษาเยอรมันในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 200,000 คน และความสนใจต่อการเรียนภาษาเยอรมันยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แต่กระนั้นในบางประเทศยังคงเผชิญปัญหาการขาดแคลนครูสอนภาษาเยอรมัน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องสำหรับครูสอนภาษาเยอรมัน หรือ DLL (Deutsch Lehren Lernen) เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตครูและพัฒนาศักยภาพครูสอนภาษาเยอรมันในภูมิภาค และวิเคราะห์ภาวะการขาดแคลนครูสอนภาษาเยอรมันในประเทศไทยเป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่าหลักสูตร DLL ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อผู้สอนภาษาเยอรมันในต่างประเทศโดยเฉพาะ โดยมุ่งเน้นทฤษฎีการสอนภาษาเยอรมันที่ทันสมัยและหลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ได้จริง หัวใจของหลักสูตรนึ้จึงเป็นการเรียนรู้ผ่านการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เพื่อแก้ไขปัญหาการสอน และจัดการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ส่วนการวิเคราะห์กรณีศึกษาพบว่าไม่เพียงแต่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเท่านั้นที่กำหนดให้ครูสอนภาษาเยอรมันอยู่ในกลุ่มสาขาวิชาเอกขาดแคลนมาหลายปีแล้วแต่ในระดับอุดมศึกษาและสถาบันภาษาต่างก็เผชิญปัญหานี้เช่นเดียวกัน และการศึกษาครั้งนี้ได้รวบรวมข้อเสนอแนะเพื่อให้หน่วยงานการศึกษาพิจารณาเป็นแนวทางในการพัฒนาเชิงนโยบายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

รองศาสตราจารย์ ดร. ประภาวดี กุศลรอด หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง