ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้ากับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก The Relationship between Breakfast Consumption Behavior and Breakfast Consumption Cognition of Grade 1–6 Students at Bang Rakam District, Phitsanulok Province

Main Article Content

ฟาจิรา พิช์ญสินี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้ากับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 191 คน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้า      ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม และด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับมาก 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้าอย่างถูกต้อง โดยภาพรวมร้อยละ 70.93 และ 3) พฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 มีความสัมพันธ์ผกผันระดับต่ำ กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารเช้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย, กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์, สำนักโภชนาการ. (2561). แผนปฏิบัติการด้าน โภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562 – 2566. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2566. จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/dm-km.

กานต์ธิดา ทองขาว. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าของกลุ่มวัยทำงาน อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. สาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิริธร.

จินตรัตน์ อินทมาศ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารมื้อเช้าของวัยทำงานในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, การจัดการมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการธุรกิจอาหาร,

มหาวิทยาลัยมหิดล.

ดวงพร โฆษินทร์เดชา. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์, ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธวัชชัย ไชยหมาน. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอหารเช้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์, ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิชุดา ศรีนิ่มนวล. (2558). ความรู้ การบริโภคอาหารเช้าและภาวะสุขภาพของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การศึกษาค้นคว้าอิสระ, วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาโภชนศาสตร์ ศึกษา, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักข่าวสนุก. (2565). ผลสำรวจชี้ ภาวะโภชนาการเด็กในอาเซียน “น่าเป็นห่วง” จำเป็นต้องเร่งแก้ไข. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566. จาก https://www.sanook.com/news/8578562.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2563). กินอย่างฉลาดกินตามโภชนบัญญัติ 9 ประการ. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2566. จาก https://resourcecenter.thaihealth.or.th/media/DOzA.

อณติมา หมีสมุทร์. (2560). พฤติกรรมการบริโภคอหารเช้าของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนราชินีบน. วิทยานิพนธ์, คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์, สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.