การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้เกมิฟิเคชัน หน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 Development of Creative Problem-Solving Skills by Using Gamification on the Weather and Climate Unit for Grade 12 Students

Main Article Content

ภูษณิศา สุวรรณศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ หน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมิฟิเคชัน และ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมิฟิเคชัน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับฉลาก จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และระดับพฤติกรรมของทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การระบุปัญหา รองลงมา คือ การค้นพบวิธีการแก้ปัญหา การค้นพบปัญหา การวางแผนการแก้ปัญหา และการค้นหาวิธีแก้ปัญหา ตามลำดับ และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สุวรรณศิลป์ ภ. (2023). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้เกมิฟิเคชัน หน่วยการเรียนรู้เรื่องลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6: Development of Creative Problem-Solving Skills by Using Gamification on the Weather and Climate Unit for Grade 12 Students . คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(2), 106–120. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/249371
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น

พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ช่อทิพวัลย์ รัตนนรชัย. (2559). รูปแบบการเรียนบนเว็บด้วยเครื่องมือการทำงานร่วมกันแบบวิชวลกราฟิกส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์

ของนิสิตนักศึกษาคณะครุศาสตร์ศึกษาศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/60713

วนัสนันท์ ชูรัตน์. (2564). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์โดยใช้รูปแบบการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ร่วมกับอินโฟกราฟิกสำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องกรด-เบส (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/123456789/4440

วิชัย วงษ์ใหญ่. (2542). กระบวนทัศน์ใหม่ : การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. SR Printing.

ล้วน สายยศ และ อังคุณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิิจัยทางการศึึกษา. สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์.

https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-fullreport/#

สุชัญญา เยื้องกลาง. (2560). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้เกมิฟิเคชันเป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและทักษะการเชื่อมโยงคณิตศาสตร์สู่ชีวิตจริงระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

http://202.28.34.124/dspace/handle123456789/423

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่ง

ประเทศไทย. http://academic.obec.go.th/web/news/view/75

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). แนวทางการจัดกิจกรรมพัฒนาผูเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(พิมพ์ครั้งที่ 2). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. https://sgs.bopp-obec.info/menu/Data/guidance01.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579 (พิมพ์ครั้งที่ 1).

http://www.onec.go.th

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2565). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐานมัธยมศึกษาปีที่ 6.

https://www.niets.or.th/uploads/editor/files/O-NET/rapid%20report%20M6-2564.pdf

Bloom, B.S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational objectives:The classification of

educational goals.Handbook I: Cognitive domain. DOI: 10.1007/978-1-4419-1428-6_141

Isaksen, S. G., Dorval, K. B., & Treffinger, D. J. (2011). Creative approaches to problem solving. Sage Publications, Inc.

Jeffrey, B. (2020). The Basics of Creative Problem Solving – CPS. https://shorturl.asia/ZGXlk Glover, I. (2013). Play as you learn:

gamification as a technique for motivating Learners.

http://shura.shu.ac.uk/7172/1/glover_-_play_as_you_learn_-_proceeding_112246.pdf

Kapp, K. M. (2012). The gamification of learning and instruction: Game-based methods and strategies for training and education.

Pfeiffer.

Kirkley, J. (2003). Principles for teaching problem solving. Plato Learning.

McGrath, N., & Bayerlein, L. (2013). Engaging online students through the gamification of learning materials: The present and the future.

Proceeding of the International Conference on Australasian Society for Computers in Learning in Tertiary Education, 573-577.

https://www.learntechlib.org/p/171181/

Parson, R. (1997). An investigation in to instruction available on the World Wide Web. http://www.osie.on.ca/~rparson/out1d.htm.

Sandusky, S. (2015). Gamificaition in Education. https://repository.arizona.edu/handle/10150/556222

Treffinger, D. J., Isaksen, S. G., & Dorval, K. B. (2010). Creative problem solving (CPS version 6.1™) A contemporary framework for

managing change. Center for Creative Learning. https://www.creativelearning.com/images/freePDFs/CPSVersion61.pdf

Simóes, J., Redondo, R. D., & Vilas, A. F. (2013). A social gamification framework for a K-6 learning platform. Computers in Human

Behavior, 29(2), 345-353. http://dx.doi.org/10.1016/j.chb.2012.06.007

Sergio, J. (2013). Gamification Model Canvas.

http://gamasutra.com/blogs/SergioJimenez/20131106/204134/Gamificaton_ Mode._Canvas.php?print=1