การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง ป่าเขา ลำน้ำ วิถีชีวิต ชุมชนลุ่มน้ำเจียง เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์บนฐานการเรียนรู้ของชุมชน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 The Development of Integrated Learning Unit the Forest Hill, River, Lifestyle in the Jiang River Basin Community to Create the Consciousness of Local Environmental Conservation from Learning Activities with Geographic Processes Based on Community Learning of Grade 5 Students

Main Article Content

ปรีชาพล กำแพงทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง ป่าเขา ลำน้ำ วิถีชีวิตชุมชนลุ่มน้ำเจียง 2) พัฒนาจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และ 3) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์บนฐานการเรียนรู้ของชุมชน ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองหญ้าปล้องโนนคูณวิทยา จำนวนทั้งหมด 17 คน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน (Action Research) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ และการสะท้อนคิดของนักเรียน 2) ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแบบทดสอบท้ายวงจร แบบวัดจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ เพื่อนำมาหาค่าเฉลี่ย ร้อยละและเปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
กำแพงทิพย์ ป. (2024). การพัฒนาหน่วยการเรียนรู้บูรณาการเรื่อง ป่าเขา ลำน้ำ วิถีชีวิต ชุมชนลุ่มน้ำเจียง เพื่อสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยกระบวนการทางภูมิศาสตร์บนฐานการเรียนรู้ของชุมชน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5: The Development of Integrated Learning Unit the Forest Hill, River, Lifestyle in the Jiang River Basin Community to Create the Consciousness of Local Environmental Conservation from Learning Activities with Geographic Processes Based on Community Learning of Grade 5 Students. คุรุสภาวิทยาจารย์, 5(1), 52–65. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/251529
บท
บทความวิจัย