การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 Development of learning achievement in mathematics on fractions by implementing the CIPPA MODEL to learning management for Grade 6 students.

Main Article Content

ศุภลักษณ์ ชัยอาวุธ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหนองกุง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 12 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุดการเรียนรู้ เรื่อง เศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา และ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics)


       ผลการศึกษาพบว่า การจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) ช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้น ป.6 หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างชัดเจนและสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ที่กำหนดไว้

Article Details

How to Cite
ชัยอาวุธ ศ. (2024). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยการจัดการเรียนรู้รูปแบบซิปปา (CIPPA MODEL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6: Development of learning achievement in mathematics on fractions by implementing the CIPPA MODEL to learning management for Grade 6 students. คุรุสภาวิทยาจารย์, 5(2), 33–46. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/252106
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาชั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมวิชาการ. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

จินตนา คำเงิน. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่

เรื่องการบวก ลบจำนวนเต็ม โดยใช้วิธีสอนแบบซิปปา (CIPPA) กับวิธีสอบแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ (ค.ม.). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระราชูอัปถัมภ์.

ชนนิกานต์ ฉ่ำเมืองปักษ์. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบซิปปาที่ส่งเสริมความสามารถใน

การแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(4), 213-225.

ทิศนา แขมมณี. (2548). กลุ่มสัมพันธ์เพื่อการทำงานและการจัดการเรียนการสอน.กรุงเทพฯ : นิชินแอดเวอร์ไทซิ่ง กรุ๊ป.

วนิดา พรชัย. (2549). ผลการจัดการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตรที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมกล้าแสดงออกของนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศศิธร แก้วรักษา. (2547). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบซิปปา (CIPPA MODEL) ที่เน้นทักษะการเชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน เรื่อง สถิติเบื้องต้น. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. แผนปฎิบัติการประจำปี 2565.

อัมพร ม้าคะนอง. (2546). การสอนและการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและทางวิชาการ.กรุงเทพฯ : คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.