การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนวิชาภาษาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 THE DEVELOPMENT OF CRITICAL THINKING ABILITIES IN LEARNING THAI LANGUAGE SUBJECT BY USING GPAS 5 STEPS LEARNING TOGETHER WITH QUESTIONING TECHNIQUES FOR MATTHAYOMSUKSA 6 STUDENTS
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ ( GPAS 5 Steps) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6 โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้กระบวนการคิดขั้นสูงเชิงระบบ (GPAS 5 Steps) ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.10/83.17 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กุลิสรา จิตรชญาวณิช. (2562). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกียรติพร สินพิบูลย์. (2561, กรกฎาคม-ธันวาคม). “การพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ด้วยการใช้คำถามเป็นฐานร่วมกับมัลติมิเดีย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 16(2) : 165-177.
คะนึงนิตย์ ดีพันธ์. (2561). ผลการใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ GPAS ที่มีต่อความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นันท์นภัส นิยมทรัพย์. (2560). ความรู้พื้นฐานด้านการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรพรรณ ศรีหาวงศ์. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ GPAS. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการนิเทศ). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัฐพงษ์ ศิริวิริยานันท์. (2563). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษา เรื่องทวีปยุโรป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้กระบวนการ GPAS 5 Steps. เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5 “การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง(Research to Make A CHANGE)”.
โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม. (2563). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม ปีการศึกษา 2560-2562. บุรีรัมย์ : โรงเรียนประโคนชัยพิทยาคม.
ศศิกานต์ หลวงนุช. (2564). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ GPAS 5 Steps ร่วมกับแหล่งเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.(หลักสูตรและการสอน). นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). วิธีสอนทั่วไป (Method of Teaching). พิมพ์ครั้งที่ 2. นครปฐม :มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหาร : คู่มือและแบบทดสอบ. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.
สัตตรัตน์ แซ่ย้าง และณัฐนันท์ แสนเรือน. (2565, พฤษภาคม - สิงหาคม). “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องรอบรู้รูปสามเหลี่ยม โดยใช้การเรียนรู้แบบ GPAS 5 Steps ร่วมกับสื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสันป่าตอง(สุวรรณราษฎร์วิทยาคาร.” วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่. 1(2) : 75-98.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งาชาติ.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
Bodi, S. (1998). Critical Thinking and Bibliographic Instruction : the Relationship. The Journal of Academic Libranship. 14(3).
Norris, S.P. (1985). Synthesis of Research on Critical Thinking. Educational Leadership. (42)8.
Sweeney, D. (2011). Student-centered coaching : A guide for K-8 coaches and principles.Callifonia Corwin Press.