การศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิตตามแนวคิดของแวนฮีลี เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 A Study of Geometric Thinking Levels about polygons based on the Van Hiele Model for 6th grade students
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดทางเรขาคณิตตามแนวคิดของแวนฮีลี เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก ปีการศึกษา 2566 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบจำนวน 2 ชุด ชุดที่ 1 แบบปรนัยชนิดเติมคำ จำนวน 3 ข้อ และชุดที่ 2 แบบอัตนัย จำนวน 12 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เชิงเนื้อหา พบว่า ขอบเขตด้านเนื้อหา เรื่อง รูปหลายเหลี่ยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีระดับความคิดทางเรขาคณิตสูงสุด คือ ระดับ 2 การนิรนัยอย่างไม่เป็นทางการ ส่วนระดับ 3 การนิรนัย และระดับ 4 สุดยอด ไม่ปรากฏ เพราะไม่มีการพิสูจน์หรือนิรนัยอย่างเป็นทางการ เนื่องจากการนิรนัยในระดับนี้นักเรียนต้องเข้าใจการใช้ระบบสัจพจน์ในการสร้างทฤษฎีบททางเรขาคณิต เข้าใจความสัมพันธ์และบทบาทของคำอนิยาม สัจพจน์ บทนิยาม ทฤษฎีบท และการพิสูจน์ด้วยตนเองได้ เข้าใจความแตกต่างระหว่างประพจน์และบทกลับของประพจน์ และผลการทดสอบ พบว่า นักเรียนมีระดับความคิดทางเรขาคณิตตามแนวคิดของแวนฮีลี ระดับ 0 การมองเห็น ร้อยละ 20.00 ระดับ 1การวิเคราะห์ ร้อยละ 17.5 และระดับ 2 การนิรนัยอย่างไม่เป็นทางการ ร้อยละ 62.5
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตาม หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศึกราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
นัฐพร คุ้มวงค์. (2562). การศึกษาระดับความคิดเรขาคณิต เรื่อง รูปเรขาคณิตสามมิติกับการแก้ปัญหาทาง คณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
เจนสมุุทร แสงพัันธี์ และอัญชลี ตนานนท์. (2563). การเรียนรู้วิิธีีการสอนของนักศึึกษาครูคณิิตศาสตร์ใน การพััฒนาการคิดทางเรขาคณิิตของนักเรียนในชั้ันเรียนที่ใช้การศึึกษาชั้ันเรียนและวิิธีีการแบบเปิด. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สิริพร ทิพย์คง. (2532). แวนฮีลีโมเดล : ลำดับขั้นตอนการเรียนรู้เรขาคณิต. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สุดาทิพย์ หาญเชิงชัย และเตือนใจ ศักดิ์สองเมือง. (2564). การคิดเชิงเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 1 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด. วารสารสหวิทยาการสังคมศาสตร์และการสื่อสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สมทรง สุวพานิช. (2553). เรขาคณิต...ศาสตร์มหัศจรรย์. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Ball, D. L., Thames, M., Bass, H., Sleep, L., Lewis, J., & Phelps, G. (2009). A Practice Based
Theory of Mathematical Knowledge for Teaching. In Proceeding of 33rd Conference of the international Group for the Psychology of Mathematics Education, edited by Tzekaki, M., Kaldrimidou, M. & Sakonidis, H., pp.95-98. Thessaloniki: Aristotle University of Thessaloni.
Inprasitha, Mitree. (2008). A research report titled “model of students” mathematical
thinking development by lesson study and open approach. Khon Kaen: Center for
Research I Mathematics Education.
OECD (2023). PISA 2022 Results (Volume I): The State of Learning and Equity in Education, PISA, OECD Publishing, Paris, https://doi.org/10.1787/53f23881-en.
Srichompoo, Somkuan. (2006). A study the level of geometrical thinking based on Van
Hiele’s model. Master’s dissertation, Khon Kaen , Khon Kaen, Thailand