การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของครูผู้สอน ภายใต้หัวข้อการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการจัดการเรียนรู้ Development of a training course to develop teachers' technological capabilities Under the topic of using artificial intelligence (AI) in learning management
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของครูผู้สอนภายใต้หัวข้อการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการจัดการเรียนรู้ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีของครูผู้สอนภายใต้หัวข้อการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา สำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่สนใจเข้าร่วมอบรมจำนวน 72 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกอบรม คู่มือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความสามารถของครูในการออกแบบสื่อการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจของครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (M) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.)
ผลการวิจัยพบว่า 1. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย องค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ได้แก่ 1) หลักการของหลักสูตร 2) วัตถุประสงค์ 3) ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม 4) การวัดและประเมินผลของหลักสูตรฝึกอบรม และ 5) ปัจจัยสนับสนุนการนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ 2. ผลการหาประสิทธิผลของหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น พบว่าหลังการอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น ครูผู้สอนมีความสามารถด้านเทคโนโลยีในการออกแบบสื่อการเรียนรู้โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) อยู่ในระดับมาก และมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กิดานันท์ มลิทอง. (2543). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาโสตทัศนศึกษา :จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุพร แทนเถื่อน. (2566). การใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านของผู้เรียน. Journal of Applied Education, 1(4), 23-28.
เฉลิม ฟักอ่อน. (2550). เอกสารประกอบการอบรมการออกแบบการเรียนรู้แบบย้อนกลับ Backword Design. เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่เขต 1 เชียงใหม่.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2550). การสรรหา การคัดเลือกและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร. วี.พรินท์ (1991):กรุงเทพฯ.
ณัฐรัตน์ ผดุงถิ่น. (2564). ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อสมรรถนะดิจิทัลของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐมและสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม:โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิดา เขจรรักษ์. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครู โดยใช้การบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุตพัฒผล. (2563). จากการเรียนรู้ออนไลน์สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (2545). รอบรู้ไอที เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมคิด บางโม. (2559). เทคนิคการฝึกอบรมและการประชุม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร:พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
อานนท์ หินแก้ว. (2558). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการสร้างหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการสำหรับครูมัธยมศึกษา กรณีศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 (ชาญวิทยา) จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
อนุชิต นาคกล่อม (2565). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักพัฒนาระบบด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้. ด้วยเทคโนโลยีไอโอทีอาศัยรูปแบบการเชื่อมโยงองค์ความรู้มหาวิทยาลัย และภาคอุตสาหกรรม. Journal of Education Naresuan University.
องอาจ นัยพัฒน์.(2554).การออกแบบการวิจัย: วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพและผสมผสานวิธีการ.พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Borg, W.R. and Gall, M.D.1979. Educational Research. 5 th ed. Newyork.: Longman.
Creswell, J.W., and Plano Clark, V.L.(2011).Designing and conducting mixed methods research.2nd ed.CA: Sage.
Dessler, G. (1999). Essentials of Human Resource Management.Prentice Hall.
Hawkridge (1983 ). Organizing educational broadcasting. UNESCO.