การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 บทความวิจัย

Main Article Content

อภิรดี เดชพงษ์สัมฤทธิ์
ธีระพล สุทธิพนไพศาล
วรรณพร จิตรสังวรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีวัตถุประสงค์ดังนี้  1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบเชิงรุกฯ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ลงทะเบียนเรียนใน ภาคปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 33 คน จำนวน 2 ห้องเรียน ในรายวิชา การออกแบบและพัฒนาเกม โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ใช้ค่าความยากง่ายของข้อคำถามวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระ (Paired sample t-test) เพื่อทดสอบก่อนและหลังวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างกันก่อนและหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 3.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐานเท่ากับ 0.85 ค่าเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.89 โดยมีค่า t test เท่ากับ 25.78 2) การวิเคราะห์ระดับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.97 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.85 ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
[1]
เดชพงษ์สัมฤทธิ์ อ. ., สุทธิพนไพศาล ธ. ., และ จิตรสังวรณ์ ว. ., “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุก เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 : บทความวิจัย”, JSCI-SBU, ปี 3, ฉบับที่ 1, น. 40–52, มิ.ย. 2023.
บท
บทความวิจัย

References

Ohio Department of Education, “Partnership for 21st Century Skills,” [Online]. Available:https://www.marietta.edu/sites/default/files/documents/21st_century_skills_standards_book_2.pdf. [Accessed: May 15, 2023].

T. Setkhumbong, "Changing the Learning Environment in Higher Education to the Normalin the COVID-19 Crisis Situation," Humanities and Social Sciences, vol. 15, no. 44, pp. 1-13, January - February, 2022.

M.Tongbai,K. Sokhumaand D.Boonprajak,"A Study of results of active learning on application of integrals," Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), vol. 13, no. 1, pp. 259-267, January-April, 2023.

K. Phoyen, "Active Learning : Learning satisfy Education in 21st century," Journal of Education Silpakorn University, vol. 19, no. 1, pp. 11-28, January - June, 2021.

“Thinking analytically,” [Online]. Available: http://tishafan analysisthinking.blogspot. com/p/blog-page_18.html. [Accessed: May 15, 2023].

Choy, S. Chee, and Phaik Kin Cheah. "Teacher perceptions of critical thinking among students and its influence on higher education." International Journal of teaching and learning in Higher Education,vol. 20, no.2.,pp.198-206., 2009.

N. Kaewchoteand C. Watthanathum,"Development of an Active Learning Instructional Competencies Model for teachers in The Bangkok Metropolitan Administration," Journal of Interdisciplinary Research and Educational Innovation, Vol. 1 No. 1, pp. 43-56, 2022.

S. Khunmathurot, "Organizing Active Learning Activities in the Summarization," Liberal Arts Review, vol.15, no.2, pp.178-187., July-December, 2020.

A. Changkwanyeun, R. Kaewurai and W. Wongthai, "Active learning approach to enhance digital citizenship," Journal of Education Naresuan University ,vol.23,no.3,pp.452-465.,July - September, 2021.

Monteiro, Alecia B. Preparing faculty to teach in an active learning classroom. Diss. University of Florida, 2012.

Sherman, Thomas M.; Kurshan, Barbara L., "Constructing Learning Using Technology to Support Teaching for Understanding," Learning & Leading with Technology, ISTE (International Society for Technology in Education) ,vol.32,no.5, pp.10- 13,February, 2005.

Secondary Educational Service Area Office 35. "Guidelines for Active Learning (Active Learning) Active learning management supervision project using guidance and mentoring process," Lampang: Secondary Education Service Area Office, Region 35. 2019.

Office of the Basic Education Commission, "Supervision guidelines for developing and promoting active learning management according to the policy to reduce study time Add time to know," Bangkok: Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. 2019.

Ghilay, Yaron, and Ruth Ghilay., "TBAL: Technology-based active learning in higher Education," Ghilay, Y. & Ghilay.,pp.10-18. 2015.

McManus, Mike, and Gary Taylor, eds. Active Learning and Active Citizenship: Theoretical Contexts. C-SAP, University of Birmingham, 2009.