การใช้ Google Classroom ในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
แนวทางการใช้ Google Classroom ในการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative Language Teaching - CLT) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาการเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของกลุ่มตัวอย่างหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ 4) เพื่อสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างต่อชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร การศึกษาใช้การเก็บข้อมูลด้วยการจัดชั้นเรียน CLT มีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 37 คน มีการจัดการสอนที่เน้นการทำกิจกรรมให้นักเรียนได้ฝึกสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ มีการทดสอบก่อนและหลังเรียน การสอบถามความพึงพอใจในการเรียนด้วยบทเรียน CLT เรื่องบทเรียน The World Adventure บนแอปพลิเคชัน Google Classroom ผลการศึกษาพบว่าการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารกลุ่มตัวอย่างบนแอปพลิเคชัน Google Classroom ช่วยพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการพูดของนักเรียน การให้นักเรียนทุกคนใช้โทรศัพท์มือถือของตนเองเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนทำให้นักเรียนสนุกกับการเรียนมากขึ้น และมีความพึงพอใจต่อบทเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายออนไลน์ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสในการเรียนนอก ชั้นเรียนทำให้นักเรียนมีความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษ ลดความเขินอาย มีความกระตือรือร้นมากกว่า การเรียนในรูปแบบปกติ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
พสุ เดชะรินทร์. (2559, 7 มิถุนายน). Gen Z คนรุ่นใหม่ที่น่าติดตาม, กรุงเทพธุรกิจ, สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/637939.
British Council. (2561). 5 เหตุผลสำคัญว่าทำไมคุณถึงพูดภาษาอังกฤษไม่ได้สักที!, สืบค้นเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://www.britishcouncil.or.th/english/tips/5-reasons-why-you-cannot-speak-english.
Good, C.V. (1973). Dictionary of Education, 3rd ed. New York: McGraw-Hill.
Larsen-Freeman, D. (1986). Techniques and principles in language teaching. Hong Kong: Oxford University Press.
Li, Z. & Song, M. (2007). The relationship between traditional English grammar teaching and communicative language teaching. US-China Education Review, 4(1), 62-65.
Lundahl, M. (2011). Teaching where we are: Place-based language arts. English Journal, 100(3), 44-48.
Nunan, D. (1991). Communicative task and the language curriculum. TESOL Quarterly, 25(2), 279-295.
Punthumasen, p. (2007). International program for teacher education: An approach to tackling problems of English education in Thailand. Paper presented at the 11th UNESCOAPEID conference, 12-14 December 2007, Bangkok, Thailand.
Savignon, S. J. (1997). Communicative competence theory and classroom practice. New York: The McGraw-Hill Companies, Inc.
The Ministry of Education of Ecuador. (2012). Classroom assessment suggestions. Qulto, Ecuador: Ministerio de Educacion.
World Economic Forum. (2015) New Vision for Education: Unlocking the Potential of Technology. Geneva: World economic Forum.