การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัย โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง

Main Article Content

เอื้อมพร ยั่งยืน

บทคัดย่อ

              การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัย โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่งวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้ 1) เพื่อสร้างรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง และคู่มือสำหรับผู้ปกครองเพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มีความรับผิดชอบในการทำการบ้าน 2) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่งโดยให้ผู้ปกครองเข้าใจและสามารถปฏิบัติต่อการทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างเหมาะสมและ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัย กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ พ่อแม่ผู้ปกครองเด็กอนุบาล จำนวน 8 คนซึ่งได้มาโดยสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)คู่มือการให้ความรู้สำหรับผู้ปกครองและคู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการ2)แบบสังเกตพฤติกรรม 3)แบบบันทึกการสะท้อนการเรียนรู้ของผู้ปกครองจากการใช้รูปแบบฯ จากการระดมสะท้อนความคิดหลังโครงการยุติลง และ 4) แบบบันทึกความเห็นที่นักเรียนสะท้อนจาก  การได้รับความช่วยเหลือจากผู้ปกครอง ความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของนักเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐาน โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า


            1.รูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง ประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ คือ หลักการของรูปแบบ จำนวน 2 หลักการคือหลักการมีส่วนร่วมและหลักการสร้างความตระหนัก วัตถุประสงค์ของรูปแบบ มี จำนวน 2 ข้อ คือ 1) เพื่อให้ครูและบุคลากรทาง   การศึกษาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่งและ 2) เพื่อเปิดโอกาสให้พ่อแม่ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง กระบวนการดำเนินการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดปัญหา 2) การเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหา 3)การลงมือปฏิบัติในการแก้ไขปัญหา และ 4)การประเมินผลการดำเนินการ และเงื่อนไขความสำเร็จ ประกอบด้วย 1) ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วมของพ่อ แม่ ผู้ปกครองในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ของครู โดยเฉพาะการร่วมพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเองในการทำการบ้านของเด็ก ซึ่งจะเป็นพื้นฐานของการสร้างคนดี มีวินัยต่อไป 2) ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องเปิดใจและให้โอกาส ให้พ่อ แม่ ผู้ปกครองเข้ามาช่วยในการดูแลเด็กปฐมวัย ร่วมกับครูพัฒนาให้เด็กเป็นคนมีความรับผิดชอบมากขึ้น และ 3) พ่อแม่ผู้ปกครองต้องมีความเสียสละ ไม่โยนภาระในการจัดการเรียนรู้ให้เป็นหน้าที่ของครูหรือสถานศึกษาแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยให้          ความร่วมมือกับครูและสถานศึกษาอย่างเต็มที่และต่อเนื่องและคู่มือสำหรับผู้ปกครองเพื่อใช้ในการพัฒนานักเรียนให้มี     ความรับผิดชอบในการทำการบ้าน มีองค์ประกอบเนื้อหาที่สำคัญ คือ ความสำคัญของพ่อแม่ผู้ปกครองธรรมชาติของเด็ก    แนวทางการเลี้ยงดูเด็กและจิตวิทยาพัฒนาการเด็กปฐมวัยการพัฒนาการเรียนรู้และความรับผิดชอบต่อตนเองของเด็กปฐมวัยเป็นต้น


  1. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ก่อนการอบรม พบว่า ผู้ปกครองมีความกระตือรือร้นและมีความพร้อม โดยผู้ปกครองมาถึงห้องเรียนก่อนเวลาที่กำหนด ระหว่างการอบรม พบว่า ผู้ปกครองมีความตั้งใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการ เห็นได้จากเข้าใจในขั้นตอนของการให้ความช่วยเหลือตามกระบวนการ ผู้ปกครองทำได้ทุกขั้นตอนด้วยตนเอง  หลังการอบรม พบว่า ด้านความรู้    ผู้ปกครองมีความรู้ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือในการทำการบ้าน เทคนิคการให้ความช่วยเหลือนักเรียนให้มีความรับผิดชอบการทำการบ้านด้านทักษะ ผู้ปกครองสามารถทดลองให้ความช่วยเหลือนักเรียนให้มีความรับผิดชอบ  ในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยที่มีความสามารถใกล้เคียงกับบุตรหลานของตนได้ถูกต้องทุกขั้นตอนด้านเจตคติ ผู้ปกครองมีเจตคติที่ดีต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการ

  2. ผลการประเมินรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัย พบว่า ความเหมาะสมของรูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความเป็นไปได้และด้านความเป็นประโยชน์โดยรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ยั่งยืน เ. (2020). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการทำการบ้านของเด็กปฐมวัย โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 19–29. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/240013
บท
บทความวิจัย

References

Cook, W. C. (2003). Management and Organization Behavior. 3rded.New York: McGraw-Hill.
Connell, B.O. et al. (1992). Recovery after stroke. Journal Quality Clinical Practice, 21,
120-125.
George, J. M. (1995). Organizational Behavior (3 rded.). New Jersey: Prentice – Hall.
Kearsley, Greg. (1995). The Effectiveness and Impact of On-line Learning in Graduate
Education. Educational Technology 35(6): 37-42.
Mink, O.G. (2005). Developing high-performance people : The art of coaching. Reading,
Massachusetts : Addison-Wesley.
Smith, C. A. et al. (1998, August). Organizational citizenship behavior: Its nature and
antecedents. Journal of Applied Psychology, 68 (4),pp653 – 663.