การพัฒนาชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์

Main Article Content

พูนพงศ์ สวาสดิพันธ์
นรา เดชะคำภู

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และ2)เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 วิชางานปรับอากาศยานยนต์ รหัสวิชา 3101-2112 โดยใช้ชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์  ประชากรคือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชา เครื่องกล วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานปรับอากาศยานยนต์ รหัสวิชา3101-2112 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ทั้งสิ้น 4 กลุ่ม จำนวน 80 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง แผนกวิชาเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1 จำนวน 14 คน วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี ที่ลงทะเบียนเรียนวิชางานปรับอากาศยานยนต์ รหัสวิชา 3101-2112 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 40 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ซึ่งเป็นแบบทดสอบคู่ขนานกัน


                ผลการวิจัยพบว่า ชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์ มีประสิทธิภาพ 85.89/84.29 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งประสิทธิภาพใกล้เคียงกันกับการทดลองใช้ในขั้นตอน 1:100  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูง แผนกวิชาเครื่องกล ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 1 วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จำนวน 14 คน ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชางานปรับอากาศยานยนต์ รหัสวิชา 3101-2112 โดยใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ชุดฝึกเครื่องปรับอากาศยานยนต์ ผลการวิเคราะห์ดัชนีประสิทธิผลทางการเรียน มีค่าเท่ากับ  0.8070 ซึ่งแสดงว่า นักศึกษามีความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ เพิ่มขึ้น 0.8070 หรือคิดเป็นร้อยละ 80.70 %

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา กรุดทอง. การจัดการเรียนการสอนแบบ Research-Based Learning (RBL).(ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อ เมษายน 20, 2559, จาก http://isdc.rsu.ac.th/weblog/
ชนะ แตงคง. (2548). การสร้างชุดฝึกสถานการณ์จำลองปัญหาระบบอำนวยความสะดวกในรถยนต์.
วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2542). การพัฒนาศัพท์สัมพันธ์ด้านการศึกษาทางไกล : รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ :
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชูชาติ สีเทา. (2541). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชาวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2 เรื่องอนุกรม
ฟูเรียร์การแปลงฟูเรียร์ การประยุกต์ใช้งานฟูเรียร์ในวงจรไฟฟ้า และวงจรสองพอร์ต
หลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พุทธศักราช 2543. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต. สถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2533). หลักการ ทฤษฎีเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
เรือนแก้วการพิมพ์.
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ :
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดิเรก มณีวรรณ. (2543). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอน วิชาระบบโทรคมนาคม ระดับ
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ดุสิต บูรณะพิมพ์. (2544). การสร้างชุดฝึกสถานการณ์จำลองเครื่องยนต์แก๊สโซลีนระบบฉีดเชื้อเพลิงด้วย
อิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีรวิทย์ ภาชนะทิพย์. (2545). การสร้างชุดการสอนเรื่องการควบคุมเครื่องจักรกลอัตโนมัติโดยประยุกต์
ทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
นคร พันธ์ณรงค์. (2538) คู่มือการทำผลงานทางวิชาการเพื่อขอกำหนดตำแหน่งอาจารย์3. เชียงใหม่ :
ส.ศุภลักษณ์การพิมพ์.
นภดล โตอดิเทพ. (2546). ชุดฝึกเครื่องปรับอากาศรถยนต์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะครุศาสตร์
อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ,.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7) กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปกาศิต ภัทรรังสี. (2537). ชุดฝึกสถานการณ์จำลองปัญหาระบบปรับอากาศในรถยนต์. วิทยานิพนธ์
มหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.