รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยใช้ 3ร โมเดล 2) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยใช้ 3ร โมเดล โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นพัฒนารูปแบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) ครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 327 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน 2) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิในประเมินรูปแบบ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ และแบบประเมินรูปแบบ สำหรับการวิจัยระยะที่ 2 เป็นการประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 64 คน ได้มาจากครูผู้สอนที่อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของครู แบบประเมินความสามารถของครู และแบบสอบถามความคิดเห็นของครู การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
- รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูผู้สอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 เรียกว่า รูปแบบ 3ร (3ร โมเดล) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ร-เรียนรู้จากการฝึกอบรม 2) ร-เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 3) ร- เรียนรู้จากเครือข่าย โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบดังกล่าวมีความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถูกต้อง อยู่ในระดับมากและมากที่สุด
- ผลการประเมินการใช้รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยใช้ 3ร โมเดล พบว่า 1) ครูผู้สอนมีความรู้ความเข้าใจหลังการใช้รูปแบบสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย 2.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ3) มีความคิดเห็นของครูที่มีต่อรูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานสูงกว่าคะแนนเฉลี่ย 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
ธนานันต์ ดียิ่ง. (2556). โปรแกรมการพัฒนาสมรรถนะครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านการวัดและประเมินผลในชั้นเรียน. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศิลปากร. ถ่ายเอกสาร.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษติ์วงศ์
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้โดยโครงงาน (Project Approach). มหาสารคาม : ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). การวัดประเมินผลเพื่อคุณภาพการเรียนรู้และตัวอย่างข้อสอบจากโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (PISA). กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้งกรุ๊ป
สมชัย โกมล และอุบลรัตน์ ขลิบเงิน. (2543). การสอนเพื่อพัฒนาการคิดและทำโครงงาน .กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก
สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2553). การสังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูตามแนวปฏิรูป โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เนื้อหาจากวิทยานิพนธ์ ระหว่างปีพุทธศักราช 2543 ถึง 2551. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 12(2). 45-59.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2545-2559. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก
--------------. (2546). คุณภาพของครูสู่คุณภาพการเรียนรู้. แปลโดย สุรศักดิ์ หลายมาลา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
Hooker, Mary. (2009). Models and Best Practice in Teacher Professional Development. Education Specialist, GeSCI. Retrieved July 6, 2013, from http://www.gesci. org/old/files/docman/Teacher_Professional_Development_Models.pdf
Sparks,Dennis.; & Loucks-Horley, Susan. (1989). Five Models of Staff Development for Teachers. Journal of Staff Development. 10(4): 40-57.