การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตัวกลางของแสง ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ CO-5 STEPs โดยใช้วิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ภคนันท์ แช่มรัมย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสรีพรรณสันติภาพนาฝาย อำเภอบ้านด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent Samples t-test) 


          ผลการวิจัยพบว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องตัวกลางของแสง ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ  CO-5 STEPs โดยใช้วิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีคุณภาพด้านความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีการจัดทีมครูผู้สอนคือ ครูผู้วางแผน และครูผู้ร่วมวางแผน มาพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล ตระเตรียมสื่อการจัดการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียน ตามขั้นตอนที่สำคัญ 4 ขั้นตอน คือ ขั้น Plan, Do, See, และ Reflect  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเรื่องตัวกลางของแสงด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ CO-5 STEPs โดยใช้วิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยกระบวนการดังกล่าวอยู่ในระดับมากที่สุด


Abstract


          This research aimed to 1) develop the science learning activities, 2) compare the students’ learning achievement before and after the learning, and 3) study students’ satisfaction towards CO-5 STEPs learning process by using LS through PLC. The samples were 12 studying in the first semester of academic year 2019 of Sareephan Santiphap Nafai School, Ban Dan District, Buriram Primary Education Service Area Office 1. The research instruments consisted of 2 learning management plans and an achievement test. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and Dependent Samples t-test for hypothesis testing.


          The results revealed that the developed science learning management plan on the medium of light with the CO-5 STEPs learning process by using the Lesson Study through the Professional Learning Community was the most suitable. Students’ learning achievement after-learning about the medium of light by CO-5 STEPs learning process by using the lesson Study through the Professional Learning Community was significantly higher than before-learning at .05 level and Students’ satisfaction towards CO-5 STEPs learning process by using the lesson Study through the Professional Learning Community was at the most level.    

Article Details

How to Cite
แช่มรัมย์ ภ. (2020). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องตัวกลางของแสง ด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบ CO-5 STEPs โดยใช้วิธีการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน (Lesson Study: LS) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community: PLC) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 51–61. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241695
บท
บทความวิจัย

References

เฉลิม ฟักอ่อน. (2562). พัฒนาคุณภาพผู้เรียนสู่ศตวรรษ ๒๑ ด้วย LS PLC และ C0-5 Steps. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 20, 2562, จาก https://www.facebook.com/groups/127333997419089

นภาพร วรเนตรสุดาทิพย์. (2554). การศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) : แนวคิดใหม่ในการพัฒนาวิชาชีพครู Lesson Study: A New Concept for Teacher Professional Development. วารสารวิจัย มข. 1 (2): 176

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ณัฐวรรณ เฉลิมสุข. (2559). การศึกษาชั้นเรียน พัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ 4 MAT เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (1): 176. โรงเรียนสรีพรรณสันติภาพนาฝาย (2562). รายงานประจำปีของสถานศึกษาปีการศึกษา 2561. บุรีรัมย์ : โรงเรียนสรีพรรณสันติภาพนาฝาย.

สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ” สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อินทิรา ศรีอรุณ. (2559). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระเศรษฐศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 6 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเปิด (Open Approach) ด้วยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study). วารสารวิจัย มข. มส. (บศ.). 4(3): 79.