การพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบและกลไกการพัฒนาครูในลักษณะเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชญาพิมพ์ อุสาโห และคณะ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนากระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานศึกษาตามประเด็นที่สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาและตามประเภทสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มสถาบันผลิตครู และกลุ่มสถานศึกษา ครอบคลุม 5 พื้นที่ คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก/ภาคตะวันตก และกรุงเทพมหานคร/ปริมณฑล เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบเก็บรวบรวมข้อมูล และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (Priority Need Index, PNI)  และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)


          ผลการวิจัยพบว่า กระบวนทัศน์ รูปแบบ และกลไกการพัฒนาครูตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ 5 พื้นที่ที่สอดคล้องกับความต้องการสถานศึกษาตามประเด็นที่สำคัญที่ต้องเร่งพัฒนาตามประเภทสถานศึกษาที่ได้ คือ กระบวนทัศน์การพัฒนาครูที่มุ่งผลลัพธ์ผู้เรียนตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและชุมชน รูปแบบการพัฒนาครูเป็นรูปแบบผสมผสานออฟไลน์ ออนไลน์ มุ่งปฏิบัติตามความสามารถ และความเร็วในการเรียนรู้ และกลไกการพัฒนาครูคือ กลไกเครือข่ายเบญจภาคีของสถานศึกษา สถาบันผลิตครู ภาคเอกชน ชุมชนท้องถิ่น และต้นสังกัดของสถานศึกษาระดับประเทศ


Abstract


          The main purpose of this research was to develop paradigm, pattern and mechanism on the teacher development which consistent with the need of education institutions according to key priority agenda for the development and type of institution in 5 area-based networks. Target population of this research was group of teacher production institution and education institution in 5 area-based networks from every region of Thailand. (North, South, Northeast, East/West and Bangkok and its Surrounding Area). Research tools in this study included a data collection form and a questionnaire. The collected data was analyzed by standard statistical methods including frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Need Index (PNI), and the content analysis.


          The results revealed that the mechanisms for the teacher development found in 5 area-based networks were consistent with the need of education institutions according to key priority agenda for the development namely Industry-Community Determined Learner’s Outcome (ICDLO), Blended Offline To Inline and Self-Paced Learning (O2O & SPAL), and Quinquelateral Network of School, University, Private Sector, Local and Nation Affiliation.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Cheng, S. F., Kuo, C. L., Lin, K. C., & Lee-Hsieh, J. (2010). Development and preliminary testing of a self-rating instrument to measure self-directed learning ability of nursing students. International journal of nursing studies, 47(9), 1152-1158.

Lawson, M. J., & Askell-Williams, H. (2007). Outcomes-based education. Association of Independent Schools of SA.

National University of Singapore (2018) Retrieved from http://scale.nus.edu.sg/ AlumniLifeLongLearning/LLI-for-NUS-Alumni.html.

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2009). Creating effective teaching and learning environments: First results from TALIS. Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development.

Pesti, C., Rapos, N., Nagy, K., & Bohán, M. (2017). Analysis of Learning Outcome-based Teacher Training Programmes–Development Experiences in Hungary. Acta Paedagogica Vilnensia, 38(38), 58-76.

Spady, W. G. (1994). Outcome-Based Education: Critical Issues and Answers. American Association of School Administrators, 1801 North Moore Street, Arlington, VA 22209 (Stock No. 21-00488; $18.95 plus postage).

Zhang, J., Scardamalia, M., Lamon, M., Messina, R., & Reeve, R. (2007). Socio-cognitive dynamics of knowledge building in the work of 9- and 10-years-olds. Educational Technology Research and Development, 55(2), 117–145.

กระทรวงศึกษาธิการ (2546). พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546.

กระทรวงศึกษาธิการ (2548). กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2548.

มนตรี แย้มกสิกร. (2560). กระบวนทัศน์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาครู ในระบบและรูปแบบการพัฒนาครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล หน้า 139-143 กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2548, 20 ตุลาคม). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง การจัดตั้งเครือข่ายเพื่อการพัฒนาอุดมศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานการวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่ 2 (ฉบับสรุป) กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟิก.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). กลไกขับเคลื่อนระบบการผลิตและพัฒนาครูสมรรถนะสูงสำหรับประเทศไทย 4.0.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). ระบบและรูปแบบการผลิตครูและระบบวิจัยของสถาบันผลิตครูที่เหมาะสมกับสังคมไทยและความเป็นสากล. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาชัญญา รัตนอุบล และคณะ. การศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 2556.

อานนท์ บุณยะรัตเวช. การพัฒนาจากภายในสู่ภายนอกเพื่อคุณภาพชีวิตและวิวัฒนาการของโลกสู่ความยั่งยืน. Rajabhat Journal of Sciences, Humanities & Sicial Sciences, 14(1), 5-12.