การพัฒนารูปแบบการบริหารงานหมู่ยุวกาชาดต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ Development of an effective model of Red Cross Youth Group
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานหมู่ยุวกาชาดต้นแบบ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานหมู่ยุวกาชาดต้นแบบ 3) พัฒนารูปแบบการบริหารงานหมู่ยุวกาชาดต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูผู้สอนกิจกรรมยุวกาชาด และสมาชิกยุวกาชาด จำนวน 370 คน จากโรงเรียนที่ได้รับการประกาศเป็น “หมู่ยุวกาชาดต้นแบบ”เก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน แบบจำลองสมการโครงสร้างเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์ผู้บริหาร ครูผู้สอนฯและสมาชิกฯ จำนวน 18 คน และประชุมจัดทำสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานฯ ด้านผู้บริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา การจัดกิจกรรมยุวกาชาด สมาชิกยุวกาชาด และครูผู้สอนฯ 2) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารงานฯ พบว่า ผู้บริหาร ด้านการพัฒนาตนเองยุวกาชาด ส่งผลต่อครูผู้สอนฯ ด้านการพัฒนาตนเองยุวกาชาด ส่งผลต่อสมาชิกฯ ด้านความมีระเบียบวินัย ส่งผลต่อกิจกรรมตามคำปฏิญาณตนของยุวกาชาด 3) พัฒนารูปแบบการบริหารงานฯ พบว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญกับกิจกรรมยุวกาชาด ส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร และงบประมาณ ครูผู้สอนฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารงานในหมู่ยุวกาชาด และสมาชิกฯ ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตนตามคำปฏิญาณตนของยุวกาชาด ย่อมส่งผลให้โรงเรียนเป็นหมู่ยุวกาชาดต้นแบบที่มีประสิทธิภาพ จากที่กล่าวมาเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหาร ครูผู้สอนฯ สมาชิกฯ สามารถนำรูปแบบจาก “LTMP” ไปประยุกต์ใช้กำหนดเชิงนโยบายต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น