การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Google Classroom ควบคู่กับการสอนปกติ

Main Article Content

สุนทร พลเรือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Google Classroom ควบคู่การสอนปกติ 2) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น  3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ คลิปการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Google Classroom ข้อสอบออนไลน์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test


          ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเชิงรุกวิชาเคมี เรื่อง ปริมาณสัมพันธ์  โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ Facebook และ Google Classroom ควบคู่การสอนปกติ มีประสิทธิภาพ 83.52/82 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.72 หรือคิดเป็นร้อยละ 72 ผู้เรียนที่เรียนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด


Abstract


          The purposes of this research were to 1) develop proactive learning activities in chemistry on quantitative relationships by using social media: Facebook and Google Classroom together with regular teaching,  2) study the effectiveness index of the developed learning activities, 3) compare academic achievement before and after studies, and 4) study the learners’ satisfaction towards learning activities. The sample in this study was 45 grade 10 students in Sarakhampittayakhom School, Mahasarakham province. The research tools were learning management plans and learning clips through social media Facebook and Google Classroom, online exams with 30 items of the achievement test, a questionnaire on satisfaction towards learning activities. The statistics used for data analysis were mean, percentage, standard deviation, and t-test.


          The results revealed that the proactive learning activities in chemistry on quantitative relationships using social media: Facebook and Google Classroom accompanied with regular teaching displayed the efficiency index 83.52/82.23, and the effectiveness index was 0.72 or 72%. Learners who studied using social media had post-study score significantly higher than the pre-study score at .01 level. The students’ satisfaction towards learning activities was at a highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2544). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิชสำราญราษฏร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). เอกสารชุด แนวทางปฏิรูปการศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา “การ

จัดการเรียนการที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง”. กรุงเทพฯ: การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง

. กรุงเทพฯ: มปพ., 2560)

ภาสกร เรืองรอง และมลชยา วานชะเอม. (2558). การใช้เทคโนโลยี Google apps ในการพัฒนานวัตกรรมการ

เรียนการสอน. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วทัญญู วุฒิวรรณ์. (2553). ผลการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เชิงรุกเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิทยาศาสตร์ และความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญานิพนธ์

กศ.ม. (หลักสตรและการสอน). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุนทร พลเรือง. (2546). การพัฒนาสเปกโทรสโคปอย่างง่ายสำหรับการสอนเคมี. วิทยานิพนธ์ วท.ม.

มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภิรักษ์ ทูลธรรม และอุมาพร จันโสภา. (2559). ความพึงพอใจระบบบริการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

มูเดิ้ลและกูเกิ้ลคลาสรูมในบทบาทของผู้สอน (The Satisfaction towards Learning Management

System of Moodle and Google Classroom in Teacher Role). การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัย

มหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 12” (8-9 กันยายน 2559).