การใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ทนงศักดิ์ กันใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องพาราโบลา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนแบบปกติกับเรียนโดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ และ 2. ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง จำนวน 2 ห้องเรียน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม ผู้วิจัยดำเนินการสอนกลุ่มทดลองด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรม Geogebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ทั้งหมด 12 คาบ ประเมินผลการเรียนรู้เรื่อง พาราโบลา ของนักเรียนจากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t (Independent sample t - test)  


          ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เรื่อง พาราโบลา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าที่เรียนแบบปกติ ที่ระดับนัยสำคัญ .05 และมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้โปรแกรม GeoGebra ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เรื่อง พาราโบลา อยู่ในระดับดีมาก


Abstract


       


The purposes of this research were to (1) compare the students’ achievement in the topics of parabola between those who learned through the process of using GeoGebra program to supplement learning activities through constructivism and those who learned by standard teaching method, and (2) study students’ attitude towards learning with GeoGebra program through constructivism. The sample was Matthayomsuksa 3 students in 2 classrooms of Bankhai school during the second semester of the 2019 academic year. This was selected by clustered random sampling. The researcher taught through the process of using GeoGebra program to supplement learning activities by constructivism 12 periods. Work sheets and achievement test were used in assessment of the student performance. The statistics used in the data analysis were mean, standard deviation and independent sample t – test.


          The result found that students achievement taught by using GeoGebra program to supplement learning activities through constructivism were higher than students taught by standard teaching method at .05 level of significance, and students’ attitude towards learning with GeoGebra program through constructivism was at an excellent level.


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ ฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ปิยะพร นิตยารส. (2562). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา เรื่อง อสมการ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปิยะวุฒิ ศรีชนะ. (2556). ชุดการเรียนการสอน เรื่อง กำหนดการเชิงเส้น โดยใช้โปรแกรม Geogebra สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ : แนวคิด วิธี และเทคนิค การสอน. กรุงเทพฯ: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นต์.