กระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียน เป็นสำคัญ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ณัชชา สอนสมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีกรอบแนวคิดในการวิจัย คือ การสร้างกระบวนการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  (Participatory Action Research : PAR ) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ตามวงจร PAOR มีการพัฒนาเป็น 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนพัฒนาตนเองของครู ID  Plan แบบบันทึกการนิเทศ แบบบันทึกการประชุม แบบทดสอบ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ แบบสังเกตการสอน และแบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัย พบว่า ครูมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ โดยเฉพาะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการสอน มุ่งเน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น วิเคราะห์เป็น และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ครูสามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ สถานศึกษามีผลการทดสอบระดับชาติ (N-NET) สูงกว่าระดับประเทศเกือบทุกสาระการเรียนรู้ทุกระดับชั้น และปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้การพัฒนาบรรลุผล คือ ความร่วมมือ ความมุ่งมั่น และความตั้งใจจริงของกลุ่มเป้าหมาย และอาศัยกระบวนการและวิธีการพัฒนาที่หลากหลาย ได้แก่ 1) ขั้นสำรวจสภาพปัจจุบัน ปัญหา และความต้องการพัฒนา 2) ขั้นศึกษาและคัดเลือกวิธีการพัฒนา 3) ขั้นการดำเนินการพัฒนา ประกอบด้วย 3.1) การให้ความรู้ 3.1.1 การเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง 3.1.2 การศึกษาเอกสาร 3.1.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3.1.4 การศึกษาดูงาน 3.1.5 การอบรมพัฒนา 3.2) การนำความรู้ไปใช้ 3.2.1 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 3.2.2 การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วย One Plan One Page Management 3.2.3 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 3.3) การเสริมแรง 3.3.1 เกียรติบัตรประกาศยกย่องชมเชย 3.3.2 การให้ขวัญและกำลังใจ 3.4) การนิเทศติดตาม  3.4.1 การนิเทศภายใน 3.4.2 การนิเทศแบบคลินิก 3.5) การประเมินผล และ 4) ขั้นวิเคราะห์และสรุปผลการพัฒนา คือ สามารถพัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการออกแบบและนำวิธีการสอนที่หลากหลายมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย