แนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ดร.อรทัย สันติเมทนีดล
ดร.ธีรพงษ์ แสงสิทธิ
รองศาสตราจารย์ ดร.ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาองค์ประกอบของการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ และพัฒนาแนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ได้แก่ การสังเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ยกร่างแนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ แล้วนำร่างแนวทางลงสู่การปฏิบัติจริงที่โรงเรียนเมทนีดล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งดำเนินการตามวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยพิจารณาถึงมิติกระบวนการและมิติผลลัพธ์ แล้วปรับปรุงและนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ มี 7 องค์ประกอบ 30 ตัวบ่งชี้ (2) แนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนเมทนีดล เป็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนเมทนีดล ภายใต้โครงร่างองค์กร สภาพแวดล้อม ความสัมพันธ์ และความท้าทาย มี 7 องค์ประกอบ 34 ตัวบ่งชี้ คุณภาพของคู่มือการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ “มากที่สุด” (m = 4.58, s = 0.56) และคุณภาพการบริหารจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล ในภาพรวมมีคุณภาพอยู่ในระดับ “มากที่สุด” (m = 4.57, s = 0.58)


 

Article Details

How to Cite
สันติเมทนีดล ด., แสงสิทธิ ด., & ประเสริฐเจริญสุข ร. ด. (2020). แนวทางการจัดการศึกษาพหุวัฒนธรรมของโรงเรียนเมทนีดล จังหวัดขอนแก่น. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(3), 54–67. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/242557
บท
บทความวิจัย