การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคมและบทเรียนออนไลน์ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

Main Article Content

สายพิน วงษารัตน์

บทคัดย่อ

การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media) และบทเรียนออนไลน์SAS Curriculum Pathways รายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย  เชียงราย  มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อสังคม (Social Media)และบทเรียนออนไลน์ SAS Curriculum Pathways ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  ที่เรียนในรายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองภาคสนามเป็นแบบเจาะจงคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 และ 6/2 ห้องละ 18 คน ปีการศึกษา 2561 รวมจำนวน 36 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้จริง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 36 คน ดำเนินการวิจัยในระหว่างเดือน ตุลาคม 2560 – มกราคม 2561 การเก็บรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม แบบประเมินความสอดคล้อง และเครื่องมือที่ใช้  ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 5 ชุด แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้  สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  ค่า IOC  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test  และเกณฑ์ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 80/80


              สรุปผลการวิจัย


             1. การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ความเหมาะสมขององค์ประกอบของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่า มีความเหมาะสมทุกรายการ ค่า IOC (0.80 – 1.00) ทุกข้อ และชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเหมาะสมทุกรายการ  ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.85  อยู่ในระดับมากที่สุด  


          2. ผลการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ผลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า  นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 5 ชุด  พบว่า นักเรียนมีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ผลการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 นักเรียนมีทักษะในศตวรรษที่ 21 หลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และนักเรียนมีความคิดเห็นต่อกิจกรรมการเรียนรู้ในระดับมากขึ้นไป

Article Details

บท
บทความวิจัย