รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24

Main Article Content

ธนัฐ มาตชรา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) ประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 มีวิธีดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการพัฒนารูปแบบ และขั้นตอนที่ 2 การประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษา จาก 7 โรงเรียน ในสหวิทยาเขตห้วยเม็กหนองกุงศรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24 ปีการศึกษา 2562 รวมทั้งสิ้น 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ และ2) แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์  ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) เนื้อหาสาระ 4) วิธีการหรือกิจกรรม (3 ระยะ 27 กิจกรรม) 5) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ6) การวัดและประเมินผล 2) ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาโดยใช้ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 และมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.13

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). สถานภาพการผลิตและพัฒนาครูในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
กรัณย์พล วิวรรธมงคล. (2561). รูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11(3), 92-114.
ชวลิต ชูกำแพง. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 23(2), 1-6.
บำเพ็ญ หนูกลับ. (2563). รูปแบบการพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์. 1(1), 98-108.
โรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์. (2561). รายงานผลการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมภูฮังพัฒนวิทย์ ปีการศึกษา 2561. กาฬสินธุ์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24.
วัชรภัทร เตชะวัฒนศิริดำรง. (2562). การพัฒนาสมรรถนะครูคืนถิ่นภาคกลางตอนบนตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). สภาวะการศึกษาไทย 2559/2560 แนวทางการปฏิรูปการศึกษาไทยเพื่อก้าวสู่ยุค Thailand 4.0. กรุงเทพฯ: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). ปัญหาครู : ปัญหาที่รอการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
สำนักพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพ. (2561). การวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพการศึกษาและพัฒนาวิชาชีพ. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีอนันต์การพิมพ์ จำกัด.
หฤทัย อนุสสรราชกิจ และวราลี ถนอมชาติ พรหมพิทักษ์. (2562). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 9(2), 1-11.
อนุศรา อุดทะ และจิติมา วรรณศรี. (2563). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะของครูปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22(4), 305-316.
อริสา นพคุณ, บรรจบ บุญจันทร์ และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2561). การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย. 12(3), 232-244.
McKenzie, F.D., & Richmond, J.B. (1998). Linking health and learning: An overview of coordinated school health programs. New York: Teachers College Press.
OECD. (2016). Poland-Economic forecast summary (June 2016). (Online). Available from: http://www.oecd.org/economy/poland-economic-forecast-summary.