การศึกษาผลการสร้างเครือข่ายนิเทศเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับนิเทศก์ สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด

Main Article Content

สมหวัง พันธะลี
ปภาวรินทร์ เรืองประจวบกุล

บทคัดย่อ

  การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. ศึกษาผลการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลและการสนับสนุนการบริหารการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด/ภาค เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา


2) เพื่อศึกษาผลการพัฒนารูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลในการบริหาร                        จัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ 3) เพื่อศึกษาผลการขยายผลรูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาด้วยกระบวนการ Coaching ทุกสังกัดในระดับจังหวัด/ภาค ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ 4) เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ของสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด กลุ่มตัวอย่าง เป็นศึกษานิเทศกก์สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด 77 คนและผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานศึกษาธิการภาค 18 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ (Google Form)มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 แบบนิเทศ ติดตามและประเมินผลโครงการ และแบบสัมภาษณ์ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในที่ประชุมการนำเสนอผลงานโครงการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความเรียงและสรุปประเด็นสำคัญ


          ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามประเมินผล และการสนับสนุนการบริหารการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด ส่วนมากมีวิธีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการนิเทศ ติดตามประเมินผล และการสนับสนุนการบริหารการจัดการศึกษาในระดับจังหวัด โดยเชิญบุคลากรและหน่วยงานทางการศึกษาในจังหวัดร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา 2) การพัฒนารูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ ทุกจังหวัดมีรูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น 3) การขยายผลรูปแบบ/แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษาด้วยกระบวนการ Coaching ทุกสังกัดในระดับจังหวัด/ภาค มีการเผยแพร่เอกสารรายงาน การจัดนิทรรศการ การจัดเวทีเสวนา เป็นหน่วยรับการศึกษาดูงานจากหน่วยงาน/สถานศึกษาที่สนใจ หรือเผยแพร่ผ่านระบบออนไลน์ และ 4) ผลการดำเนินงานตามโครงการ Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของสำนักงานศึกษาธิการภาคและสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดทำให้มีข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษาในระดับพื้นที่  มีคณะกรรมการ Supervisor Teams ระดับจังหวัดและระดับภาค       มีเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการจากหน่วยงานทางการศึกษาและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  มีการดำเนินงานในระดับพื้นที่แบบมีส่วนร่วมในการโค้ชโดยเน้นที่ระดับสถานศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). นโยบายคุณหญิงกัลยา โสภณพานิช รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ.
วันที่ 2 มีนาคม 2564 ที่ ศธ 0208/3883 ลงวันที่ 5 มีนาคม 2564
กิตติศักดิ์ อังคะนาวินและอภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2561). การนิเทศการศึกษาให้เจริญก้าวหน้าสู่ยุคไทยแลนด์
4.0. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 1(1) pp, 198.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฎิรูปการศึกษา. (2562). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา. สืบค้นเมื่อวันที่
15 เมษายน 2564 จาก https://bit.ly/2OO5iC7.
ชาคริยา ชายเกลี้ยง,วีรวรรณ จงจิตร ศิริจิรกาลและปรีชา สามัคคี. (2562). รูปแบบการนิเทศแบบผสมผสาน
เพื่อส่งเสริมการวิจัยของครู ระดับมัธยมศึกษา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6(10) น. 5353-
5354)
วิไลพร ชิมชาติและจุไรรัตน์ สุดรุ่ง (2563). แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียน
ประถมศึกษา สํานักการศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารอิเลคทรอนิคทางการศึกษา. 15(2), 1-15.
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/view/245399/166221
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563) .คู่มือการปฏิบัติงานกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผล
การจัดการศึกษา
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ (2560-2579). กรุงเทพฯ : บริษัท
พริกหวานกราฟฟิค.จำกัด.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2549) . การบริหารราชการแบบบูรณาการ. สำนักงาน
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ www.opdc.go.th
สำนักงานศึกษาธิการภาค 3 (2562). แนวทางการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการบริหารการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษา Coaching Teams เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสํานักงาน
ศึกษาธิการภาค 3. กลุ่มพัฒนาการศึกษา. http://www.reo3.moe.go.th/web/
images/news/annoucement/27Nov62.pdf
Human Resource Development Quarterly(HRDQ) (2019). Essential Coaching Skills For Managers
& Supervisors. Retrieved December 6, 2018. From https://hrdqstore.com/blogs/hrdq-
blog/essential-coaching-skills-managers-supervisors
Mette, I. (2020). Reflections on Supervision in the Time of COVID-19. Journal of Educational
Supervision, 3 (3). https://doi.org/10.31045/jes.3.3.1