ความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานครในการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ปี 2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายในกรุงเทพมหานครในการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ จำแนกตามระดับชั้น แผนการเรียน
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และรายได้ของครอบครัวต่อเดือน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ตอนปลายในกรุงเทพมหานคร 490 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามตรวจสอบมาตราส่วน
ประมาณค่าและการจัดอันดับ ใช้สถิติพื้นฐานและไคสแควร์
ผลวิเคราะห์พบว่า 1) นักเรียนต้องการให้จัดการเรียนรู้รูปแบบเกม รูปแบบการสอนแบบสอนสด
ภายในระยะเวลา 60 นาที เก็บคะแนนจากแบบฝึกหัดมากกว่าสอบ ส่งงานในรูปแบบใบงานออนไลน์สอบ
ออนไลน์ตามเวลาจริงแบบไม่เปิดกล้อง และต้องการเอกสารประกอบการเรียนเป็นปัจจัยสนับสนุนมาก
ที่สุด 2) ผลวิเคราะห์จำแนกตามระดับชั้น พบว่ามีผลต่อความต้องการระยะเวลา ช่องทางในการเรียนรู้
และรูปแบบการจัดการสอบอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05) ผลวิเคราะห์จำแนกตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
พบว่ามีผลต่อความต้องการระยะเวลา และสัดส่วนการเก็บคะแนนอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)
ผลวิเคราะห์จำแนกตามรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน พบว่ามีผลต่อความต้องการระยะเวลา ช่องทาง
ในการเรียนรู้ รูปแบบการส่งงาน และปัจจัยสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญ (p < 0.05)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
วิทยาศาสตร์และสาระภูมิศาสตร์ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรม
(ฉบับปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์กํารเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.ทองทิพย์ เกตประยูร. (2550). เด็กเร่ร่อนสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไข: กรณีศึกษาในเขตเมืองพัทยา.
(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรภา, รัฐศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง
และการบริหารจัดการ.
ธนพรรณ ทรัพย์ธนาดล. (2011). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์
ของมหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา. Veridian E-Journal SU, 4(1), 652-666.
ปัทมา อินทร์พรหม. (2548). ความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในการสอบคัดเลือกเข้า
มหาวิทยาลัย เขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
แพทยศาสตร์, สาขาสุขภาพจิต
เปรื่อง กิจรัตน์ภร. (16 มีนาคม 2564). ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาไทย: ที่มาและทางออก. สืบค้นจาก
http://opac.vru.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=8575766
วิกานดา ชัยรัตน์, และรังสรรค์ โฉมยา. (2563). การพัฒนาโมเดลการวัดและ เครื่องมือวัดภาระทาง
ปัญญา (Cognitive load) ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา, 14(1), 123-132.
วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, กิติศาอร เหล่าเหมณี
สินีนุช สุวรรณาภิชาติ, และ สุมิตร สุวรรณ. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19.ศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์,4(1), 44-61.
ศิริชัย กาญจนวาสี, ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์, และ ดิเรก ศรีสุโข. (2543). การประเมินการเรียนรู้: ข้อเสนอ
แนะเชิงนโยบาย: รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สมประสงค์ เสนารัตน์, เบญจมาภรณ์ เสนารัตน์, และ พิสิฐ พินิจสกุล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเกรด
เฉลี่ยสะสมของนักศึกษาครู. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี, 9(2), 119-129.
Castelli, F. R., and Sarvary, M. A. (2021). Why students do not turn on their video cameras
during online classes and an equitable and inclusive plan to encourage them to do
so. Ecol Evol, 11, 3565-3576. DOI: org/10.100 2/ece3.7123
Cardozo, L. T., & Castro. A. P. (2020). Integrating synapse, muscle contraction, and
autonomic nervous system game: effect on learning and evaluation of students’
opinions. Advances in Physiology Education, 44(2), 153-162.
Maslow, A. H. (1943). A theory of human motivation. Psychological Review. 50(4), 370–396.
Venkataraman, S. (2020). ROBLEMS OF ONLINE CLASSES. International Journal of
Academic Research Reflector, 9(6), 1-3.
Wood Johnny. (2020, April 10). This is why many young people have no access to proper
education. Retrievedfrom https://www.weforum.org/agenda /2020 /07/unesco-
education-inclusion-inequalitie