การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 The Development of Critical Reading and thinking Skills Exercises, Thai Language Cluster for Mathayomsuksa 1 Students

Main Article Content

วิระวรรณ สุภานันท์

บทคัดย่อ

การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย


สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1


The​ development​ of​ reading​ critical​ thinking​ skills​ exercises​ Thai​ language department​ for​ muttayom​ suksa 1 students


 


บทคัดย่อ


            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ  กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ซึ่งเรียนในภาคเรียน ที่  1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนวัดคลองชัน  อำเภอลำลูกกา  จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) ด้วยวิธีจับสลาก  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 หน่วย 20 แผน    2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 2 ชุด ประกอบด้วย แบบทดสอบความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71 แบบทดสอบความสามารถทางการคิดอย่างมีวิจารณญาณแบบอัตนัย จำนวน 9 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.9  3) แบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาประสิทธิภาพของแบบฝึก 3 ขั้นตอน ตามเกณฑ์ 80/80  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่า t แบบกลุ่มไม่อิสระ (Dependent Samples  t-test  )


            ผลจากการวิจัยปรากฏ  ดังนี้


  1. ประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีค่าเท่ากับ 80.13/80.16 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ที่ 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. 3. ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น มีค่าเท่ากับ 0.60

  4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกที่พัฒนาขึ้น อยู่ในระดับดีมาก

 (   = 4.68, S.D. = 0.51)


 


คำสำคัญ : แบบฝึก การอ่านคิดอย่างมีวิจารณญาณ


 


 


ABSTRACT


            The purposes of the study were 1) To create a form to practice reading and critical thinking, Thai language department for Muttayom 1 by performance criteria 80/80 2) To make a comparison between academic achievement before and after studying by using the reading and critical thinking skill exercises. 3) To find the index of effectiveness of the exercise of critical reading skills 4) To study students satisfaction by using the reading and critical thinking skill exercises. A sample was selected from 30 students in Muttayom1/1 who study in the first semester of 2020 ,Watkhlongchan school Lumlukka district Pathum Thani Province. The sample was obtained by simple random sampling of drawing method. The research tools were 1) Thai language lesson plans including 4 units 20 lesson plans 2) The academic achievement test: 30 items multiple-choice critical reading ability test, confident value is 0.71 , 9 items subjective critical thinking ability test confident value is 0.9 3) Critical skills thinking exercise analysis data by finding the effectiveness of the exercise 3 steps according to the criteria 80/80. Statistics analysis data is average analysis standard deviation and dependent sample t-test


            The results of the study were as follow:


  • The efficiency of the development critical reading skills exercise was 80.13/80.16 according to the target at 80/80

  • The student’s academic achievement after studying using the developed exercises higher than before was statistically significant at 0.05

  • The learning effectiveness index using the developed exercises was 0.60

  • The students’ satisfaction with learning using the developed exercise was very good level. (= 4.68, S.D. = 0.51)

Keywords : exercise​, reading​ critical​ thinking

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ,สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขันพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อรนุช ลิมตศิริ. (2551). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเรียนการสอน(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสยามกัมมาจล.
บุญชนก ธรรมวงศา. (2561). Critical Thinking: สอนเด็กให้รู้คิด ผิดหรือถูกก็ใช้วิจารณญาณ
เป็น. ค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2561, จาก https://thepotential.org/knowledge/how-to-critical-thinking.
รัศมี ประทุมมา. (2550). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุวิทย์ คำมูล. (2550). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์.
นฤมล มีโสภา. (2550). การพัฒนาชุดฝึกการคิดแก้ปัญหา เรื่อง สรรพสิ่งในธรรมชาติด้วย
เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ทัศนีย์ หนูนาค. (2550). ผลการเรียนการสอนภาษาไทยด้วยเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่มี
ต่อความสามารถคิดวิเคราะห์และการอ่านวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชัยยงค์ พรมวงศ์. (2538). “เอกสารการสอนวิชาวิทยาการการสอน หน่วยที่ 1 การสอนในฐานะ วิทยากร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมธาดา.
ชาญชัย ยมดิษฐ์.(2548). เทคนิควิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทหลักพิมพ์จำกัด.
วัชรา เล่าเรียน. (2554). รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. นครปฐม
: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พันธ์ทิพา หลาบเลิศบุญ และคณะ. (2542). ภาษาไทย 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์.