การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบการพัฒนามารยาทไทยสำหรับนักเรียน (EQFS Model) The Development of Buddhism Courses Learning Achievement of Mathayomsuksa 5 Students by Etiquette for Student Model (EQFS Model)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้ EQFS Model 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ EQFS Model เรื่อง มารยาทชาวพุทธ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวน 37 คน ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน (pretest-posttest) เรื่อง มารยาทชาวพุทธ และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง มารยาทชาวพุทธ ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
- ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องมารยาทชาวพุทธของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ EQFS Model โดยภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร
แห่งประเทศไทย จำกัด.
จิรายุ อุตฺตโม มูลมาก, พระ (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์วิชาพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านปางสวรรค์ ตำบลปางสวรรค์ อำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มารุต พัฒผลและวิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). Passion-based Learning ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มารุต พัฒผลและวิชัย วงษ์ใหญ่. (2563). Hybrid Learning สมรรถนะที่พึงประสงค์ใน New normal.
กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาพุทธศักราช
2560 – 2564. กรุงเทพฯ: งานนโยบายและแผนฯ กลุ่มบริหารงบประมาณ.
วินิตา สร้อยเพชรประภา (2558). บทความลงในวารสารงานวิจัยการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง คำ
ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้
แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย. Veridian E-Journal, Slipakorn University
สุวิมล ว่องวาณิช. (2563). การวิจัยออกแบบทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). คู่มือประเมิน
สมรรถนะสำคัญ ของผู้เรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2560-2579. กรุงเทพฯ:
พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
อัชฌพร อังกินันทน์. (2558). รูปแบบประสิทธิผลของผู้เรียนสาขาวิชาชีพ สำหรับวิทยาลัยในสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาด้วยการจัดการเรียนรู้จากประสบการณ์.
วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (น.1-11). ปทุมธานี: