แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล

Main Article Content

ราณี จีนสุทธิ์
หทัยภัทร จีนสุทธิ์

บทคัดย่อ

อาชีพครู นับว่าเป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดเกิดขึ้นพร้อมๆ กับมนุษยชาติ ได้รับการพัฒนาและมีวิวัฒนาการเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ นอกจากเป็นอาชีพที่เก่าแก่แล้วยังเป็นอาชีพที่ได้รับการยกย่องจากสังคมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทย เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้ตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของครูในยุคชีวิตวิถีใหม่ที่ต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน และสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ให้พร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง ครูจึงต้องได้รับการพัฒนา เสริมสร้างทักษะ ความรู้ และความสามารถด้านดิจิทัล เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของครู


การศึกษาจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อันจะก่อให้เกิดผลในการทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของประเทศอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนาการศึกษาของชาติคงจะหนีไม่พ้นเรื่องของครู เพราะครูเป็นเครื่องมือชิ้นเอกในการที่จะปั้นเยาวชนของชาติไปสู่เป้าหมายหลายทางที่ต้องการ อาชีพครูจึงเป็นอาชีพที่เป็นความหวังที่มีความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ความสำเร็จของครูคือคุณภาพชีวิตของนักเรียนซึ่งเป็นดั่งเนื้องาน งานครูจึงมีธรรมชาติที่พิเศษและเป็นอาชีพที่มีความพิเศษในตัวเองยิ่งนัก สองในสามของเวลาที่ตื่นและต้องรับรู้อารมณ์ของคนเราว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่โรงเรียน อยู่กับครู อยู่กับกิจกรรมการศึกษานานาประการ โรงเรียนจึงเป็นดั่งบ้านที่สอง และครูจึงมีความหมายต่อเยาวชนที่กำลังเติบโตเป็นอนาคตของบ้านเมือง เป็นความหวังของครอบครัวและวงศ์ตระกูล เป็นความหวังของชาติโดยภาระหน้าที่ของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเยาวชนในชาติเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังที่ได้รับจาก “ครู” มากกว่าผู้ใด ครูเป็นอาชีพหนึ่งในอาชีพทั้งหลายที่จะต้องมีภาระรับผิดชอบต่อตนเองและครอบครัว ต้องสร้างเสริมฐานะให้สามารถดำรงเกียรติภูมิในสังคมได้ตามควร สังคมคาดหวังให้ครูเป็น “ปูชนียบุคคล” และธรรมชาติของครูก็ต้องเป็น “ปูชนียบุคคล” ครูจึงต้องเป็นคนที่ครองตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือได้ เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่สังคมคาดหวังให้เป็นคนดี เป็นคนที่น่าเชื่อถือ ไว้วางใจ และมั่นใจได้ในความดีและมีคุณธรรม

Article Details

How to Cite
จีนสุทธิ์ ร., & จีนสุทธิ์ ห. (2021). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. คุรุสภาวิทยาจารย์, 2(2), 16–31. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/244933
บท
บทความวิชาการ