การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) THE DEVELOPMENT OF MULTIMEDIA BASED ON THE CONCEPTS OF SCIENCE, TECHNOLOGY, SOCIETY AND ENVIRONMENT WITH INTEGRATING LOCAL CURRICULUM ON THE TITLE “NA KLUA SAMUTSAKHON”, TO ENCOURAGE ANALYTICAL THINKING AND SCIENTIFIC ATTITUDE ABILITIES OF THE STUDENTS IN PRIMARY 5, WAT SOPHANARAM SCHOOL (PLANG RUAM RAT BAMRUNG).

Main Article Content

ดวงสมร อ่องแสงคุณ

บทคัดย่อ

การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และจิตวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) โดยใช้สื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร ก่อนและหลังการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 5/1โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562  ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม  เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย สื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร  แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์


ผลการศึกษา พบว่า สื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมและสิ่งแวดล้อม บูรณาการสาระท้องถิ่น เรื่อง นาเกลือสมุทรสาคร มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 4.40-4.80  มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.09/82.84 ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย  สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดวงสมร อ่องแสงคุณ, 089-0562090

นางสาวดวงสมร อ่องแสงคุณ

โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) สพป.สมุทรสาคร

References

จิราภรณ์ เฟื่องฟุ้ง. (2559). การพัฒนาการคิดวิเคราะห์โดยใช้สื่อวิดีทัศน์เรื่องพันธะ
เคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
นารีรัตน์ ศรีสนิท. (2558). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดีย เรื่อง การสร้าง
คำสมาสสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ วารสาร
วิจัยออนไลน์นวัตกรรมการศึกษา,2(1),1-7
อนิรุทธ์ สติมั่นและคณะ. (2556). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่องดนตรี
จีนชุมชนบางหลวง, วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 34-47
อลงกต เกิดพันธุ์. (2557). การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่องอินเทอร์เน็ต
สำหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอนุบาลนครปฐม.
วารสารวิชาการ Veridian E-Journal ฉบับมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และ
ศิลปะ, 7(3), 1098-1112.
ภานุวัฒน์ บ่อพิมาย. (2561). การใช้ชุดสื่อประสมพัฒนามโนทัศน์ทางการเรียนรู้
ทักษะการตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป และจิตวิทยาศาสตร์ เรื่อง
การเคลื่อนที่แบบแนวตรง วิชา ฟิสิกส์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4 โรงเรียน
บรรหารแจ่มใสวิทยา 1 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี สาขานวัตกรรม
หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย รามคำแหง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษา
แห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
สำนักนายกรัฐมนตรี.
Richardson, G., & Blades, D. (2000). Social Studies and Science
Education: developing world citizenship through
interdisciplinary partnerships. Canadian social studies,35(3),
10-22
Yoruk, N., Morgil, I., & Secken, N. (2010). The effects of science,
technology, society, environment (STSE) interactions on
teaching chemistry (Electroic version). Natural Science, 2(12),
1417-1424.