การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับการจัดการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON MODEL ที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 A Development of Science Learning Management Model Based on the Concept of STEM Education together with SAKHON Model Problem-Based Learning for Enhancing Achievement and Problem-Solving Skills of Prathom Suksa 6 Students

Main Article Content

ดวงสมร อ่องแสงคุณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) 2. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) ประกอบด้วย 2.1 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 2.2 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาระหว่างนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ 2.3 เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร ทำการศึกษาโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6/1 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร  คู่มือการใช้รูปแบบ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหา         แบบสังเกตพฤติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย เลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน     ค่าร้อยละ ค่าสถิติ (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิด

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน  ได้แก่ SAKHON  Model 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 กระตุ้น ให้สงสัย และใคร่รู้ (Stimulation : S) ขั้นที่ 2 สู่การรวบรวมข้อมูล เพื่อสร้างสรรค์  (Accumulation: A) ขั้นที่ 3 ออกแบบ การเรียนรู้ ให้ก้าวทัน (Knowledge creation : K) ขั้นที่ 4   มุ่งมั่น ปฏิบัติ ให้ชัดเจน (Handleable:H) ขั้นที่ 5 กลั่นกรอง เพื่อวิจารณ์ นำไปปรับ (Opinion:O)  ขั้นที่ 6 ผลลัพธ์ สู่นวัตกรรม นำเสนอ (New invention:N)  มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.15/80.76


  1. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) มีดังนี้ 2.1) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.2) นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร มีทักษะการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2.3) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน SAKHON  MODEL เรื่อง รวมพลังรักษ์สมุทรสาคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ดวงสมร อ่องแสงคุณ, 089-0562090

นางสาวดวงสมร อ่องแสงคุณ

โรงเรียนวัดโสภณาราม(ปลั่งร่วมราษฎร์บำรุง) สพป.สมุทรสาคร

References

กมลฉัตร กล่อมอิ่ม, ชัยวัฒน์ นามนาค, วารีรัตน์ แก้วอุไร และวิเชียร ธำรงโสตถิสกุล. (2557).

การพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ด้วยการช่วยเสริม

ศักยภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางคณิตศาสตร์ด้านการแก้ปัญหา

สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,

(2), 129-139.

นัสรินทร์ บือซา. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา(STEM

Education) ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนชีววิทยา ความสามารถในการ

แก้ปัญหาและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา

ปีที่5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ประสาท เนืองเฉลิม. (2558). การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี

ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15 .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560-2579.

กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2556). การวิจัยทางการบริหารการศึกษา:แนวคิดและกรณีศึกษา(พิมพ์

ครั้งที่ 3) .กรุงเทพฯ: อักษราพิพัฒน์

วิษณุ ทรัพย์สมบัติ. (2563). ผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี

การศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ15 มิย.63.

https://bet.obec.go.th/New2020/wp-content/uploads/2020/06/onet-p3m3m62562.pdf

อมรัชญา ชินศรี. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริม

ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. วารสาร

สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์,5(2),

Kolb, D. A. (2014) . Experiential learning: Experience as the source of

learning and Development. Indiana: FT Press

Center for Mathematics and Technology. (2013). Why STEM is

important? Retrieved July 5} 2013,

form http://cemast.illinoisstate.edu/educators/stem