การพัฒนาเทคนิคการสอน Six Writing Steps เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 The Development of a Teaching Technique on Six Writing Steps for Enhancing English Writing Skills of Prathom Suksa 4 Students

Main Article Content

กฤษณา สถิตย์เกิด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพเทคนิคการสอน SIX WRITING STEP เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้เทคนิคการสอน SIX WRITING STEP ที่พัฒนาขึ้น ดังนี้ 3.1) ศึกษาความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้เทคนิคการสอน 3.2) เปรียบเทียบความสามารถ     ในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการใช้เทคนิคการสอน 3.3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 10 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test one sample และค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.)


การดำเนินการวิจัยเป็นวิจัยเชิงพัฒนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการสัมภาษณ์ครูผู้เชี่ยวชาญ  ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 5 คน 2) สร้างและตรวจสอบคุณภาพเทคนิคการสอน SIX WRITING STEP เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดลองนำร่องเพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผล            กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน 3) ขั้นทดลองใช้และศึกษาผลการใช้เทคนิคการสอน SIX WRITING STEP ที่พัฒนาขึ้น โดยนำไปทดลองกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเขาพริกอนุสรณ์ จำนวน 10 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง


              ผลการวิจัย พบว่า    


  1. แนวทางในการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ควรมีกิจกรรมการสร้างบรรยากาศที่ดีก่อนการเรียน และมีการให้มีภาระงานเขียนที่เหมาะสมกับช่วงวัยของ ควรจัดกิจกรรมที่เรียงลำดับการจัดการเรียนรู้จากภาระงานเขียนที่ง่ายไปหายาก เนื้อหาภาษา รูปแบบ โครงสร้างทางภาษาที่ใช้ต้องเหมาะสมกับผู้เรียนและใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ฝึกทักษะการเขียนได้ อย่างแท้จริงตั่งแต่ระดับคำ วลี ประโยครวมทั้งระดับข้อความ สื่อและแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษได้อย่างแท้จริง

  2. เทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กระบวนการ จัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและการประเมินผล มีกิจกรรมการเรียนรู้ 6 Step ดังนี้ Step 1 สำรวจกลไกงานเขียน Step 2 สร้างกรอบความคิด Step 3 ต่อติดคำเพิ่ม Step 4  เติมเต็มประโยค Step 5 เชื่อมต่อประสาน  Step 6 สร้างงานสะท้อน 5) และผลการตรวจสอบคุณภาพของเทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.61, S.D. = 0.07) และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.7471

  3. ผลการใช้และศึกษาผลการใช้เทคนิคการสอน พบว่า

                3.1  หลังเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้น นักเรียนมีความสามารถด้านทักษะการเขียน    อยู่ในระดับดี


                 3.2  นักเรียนที่เรียนโดยใช้เทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้น มีความสามารถด้านทักษะการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และมีความก้าวหน้าทางการเรียนจากการเปรียบเทียบคะแนนสอบหลังเรียนกับก่อนเรียน ร้อยละ 75.45


              3.3  ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เทคนิคการสอนที่พัฒนาขึ้นในภาพรวม  พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.54, S.D. = 0.11)


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้าง

จีรสุดา เลิศปัญญานุช. (2553). การพัฒนาความรู้ด้านไวยากรณ์และความสามารถทางด้าน

การเขียนภาษาอังกฤษของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการเขียนตามรูปแบบของ Brookes

และ Withrow. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (การสอนภาษาอังกฤษ). เชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จุฬารัตน์ แสงอรุณ นภาทรัพย์ เลิศปรีดากร และ วรวุฒิ ตัถย์วิสุทธิ์. (2560). การพัฒนา ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐานของนักเรียน

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. การประชุมวิชาการระดับชาติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

ชุดาภรณ์ แท่นอ่อน. (2553). ผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การฝึกเขียนแบบเน้น

กระบวนการของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนดงเจนวิทยาคม (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

เชาวริน เศรษฐมาตย์. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสอนเขียนตาม แนวคิดของ Brookes and Withrow กับกระบวนการสอนเขียนตามแนวการสอนภาษา เพื่อการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ทวิช อัศวตระกูลวงศ์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้น กระบวนการร่วมกับกลวิธีRAFT ที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงและเจตคติ ต่อการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปาริฉัตร พินิจวิญญูภาพ และ กชกร ธิปัตดี. (2563). การพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษด้วย การเขียนแบบเน้นกระบวนการ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด, 14 (2), 105-113.

วิชิตรา สุระคำพันธ์. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนเขียนภาษาอังกฤษตามแนวคิด

ของบรู๊คสและวิธโธร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สาขาหลักสูตรและการสอนวิทยานิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

วิไล พันชนกกุล. (2553). การพัฒนาความสารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบ อรรถฐาน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

ศศิธร เที่ยงตรง. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการสอนภาษาแบบอรรถฐาน เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนเรียงความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศุภวรรณ บัวบุญ. (2551). การพัฒนาทักษะการเขียนโดยใช้วิธีการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการ ของไรมส์ (Raimes) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนนาดูนประชาสรรพ์ สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย

มหาสารคาม.

สุธาวัลย์ อัตตโชติ. (2560). การศึกษาความสามารถในการอ่าน-การเขียนภาษาอังกฤษของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจอมบึง (วาปีพร้อมประชาศึกษา) โดยใช้ วิธีการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐานด้วยอรรถลักษณะของนิทาน.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

หนูบล จีนตุม. (2558). การศึกษาความสามารถในการอาน-เขียนภาษาอังกฤษและความสนใจต่อ การเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6โรงเรียนบานหนองไกขัน โดยใช วิธีสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน ดวยอรรถลักษณะของการพรรณนา.

วิทยานิพนธ์ ค.ม. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

Brookes, G., and Withrow. J. (1988). Changes : Reading for ESL Writers. second

edition. San Francisco : St. Martin’s Press.University

Hammond, J., Burns, A., Joyce, H., Brosnan, D., & Gerot, L. (1992). English for

specific purposes: A handbook for teachers of adult literacy. Sydney: NCELTR. 100.

Palpanadan, S. T., Salam, A. R. B., Isamil, F. B. (2014). Comparative Analysis of

Process Versus Product Approach of Teaching Writing in Malaysian

School: Review of Literature. Middle-East Journal of Scientific Research,

(22), 789–795.

Pasand, P. G., Haghi, E. B. (2013). Process-Product Approach to Writing: the Effect

of Model Essays on EFL Learners’ Writing Accuracy. International Journal of

Applied Linguistics & English Literature, 1(2), 75–79.

Rusinovci, X. (2015). Teaching Writing Through Process-Genre Based Approach.

US-China Education Review A, 5(10), 699–705.

Sarhady, T. (2015). The Effect of Product/Process – Oriented Approach to

Teaching and Learning Writing Skill on University Student Performances.

International Journal of Language and Applied Linguistics, 2(1), 7–12.

Zamle, Zvian. (1982, February). Writing: The Process of Discovering Meaning. TESOL

Quarterly. 16 (2): 195 – 209.