การศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัล ที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย A Study of the Appropriate Component of Educational Innovative Organization in the Digital Era for Science School in Thailand
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อการศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมในประเทศไทย การวิจัยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ 18 แห่ง จำนวน 36 คน และผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นเลิศ จำนวน 12 คน จากการเลือกแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบบเปิด การวิเคราะห์ข้อมูลแบบสารัตถภาพและสัมพันธภาพ วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการศึกษาเอกสารและรายงานการวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) ขั้นการเก็บข้อมูลและกำหนดองค์ประกอบ 3) ขั้นการวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบ และ 4) ขั้นการตรวจสอบและยืนยันองค์ประกอบที่เหมาะสมโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสมในประเทศไทยมีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) หลักสูตร (2) วิธีการเรียนการสอน (3) สื่อการสอน (4) การวัดและการประเมินผล และ (5) การบริหารจัดการ 2) การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม (2) บรรยากาศนวัตกรรม และ (3) นิสัยนวัตกรรม และ 3) ปัจจัยของการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษาที่เหมาะสม 12 ปัจจัย ผลการวิจัยสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาโรงเรียนและสร้างองค์กรทางการศึกษาให้เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาการศึกษาของชาติไปสู่ความยั่งยืนต่อไป
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สำเริง อ่อนสัมพันธุ์, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร, ฤทธิเดช พรหมดี และ เชิดศักดิ์ ศุภโสภณ. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. การประชุมวิชาการระดับชาติ พะเยาวิจัย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยพะเยา. 28-29 มกราคม 2564. 3513-3528.
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ, สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ดรุณี ปัญจรัตนากร และ สำเริง อ่อนสัมพันธุ์. (2564). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารโรงเรียนวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย. การประชุมการวิจัยทางการศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 16 สำนักงานสภาการศึกษา. 26-27 สิงหาคม 2565. 313-322.
สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, ฤทธิเดช พรหมดี, นฤมล รอดเนียม, พิภพ วชังเงิน และ พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). การศึกษาองค์ประกอบของการจัดองค์กรแห่งนวัตกรรมทางการศึกษายุคดิจิทัลสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เหมาะสมในประเทศไทย. การประชุมวิชาการทางการศึกษา ครั้งที่ 9 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 6-7 พฤษภาคม 2564. 294-306.
สุริยะ วชิรวงศ์ไพศาล, อนันต์ ศิลปี, วิรัช เจริญเชื้อ และ พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ. (2564). บทบาทผู้บริหารสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานยุคประเทศไทย 4.0 ภายใต้สถานการณ์วิถีปกติใหม่ในประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายวิจัยสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 5-6 สิงหาคม 2564. 869-844.
Aniskina, N., & Terekhova, E. (2019). Innovative Methods for Quality Management in Educational Organizations. International Journal of Quality & Reliability Management, 36(2), 217-231.
Brunetti, F., Matt, D.T., Bonfanti, A., De Longhi, A., Pedrini, G., & Orzes, G. (2020). Digital Transformation Challenges: Strategies Emerging from a Multi-Stakeholder Approach. The TQM Journal, 32(4), 697-724.
Chandra, P., Tomitsch, M., & Large, M. (2021). Innovation Education Programs: a Review of Definitions, Pedagogy, Frameworks and Evaluation Measures. European Journal of Innovation Management, 24(4), 1268-1291.
Edwards-Schachter, M. (2018). The Nature and Variety of Innovation. International Journal of Innovation Studies, 2(2), 65-79.
Gil, A.J., Rodrigo-Moya, B., & Morcillo-Bellido, J. (2018). The Effect of Leadership in the Development of Innovation Capacity: A Learning Organization Perspective. Leadership & Organization Development Journal, 39(6), 694-711.
Otten, R., Faughnan, M., Flattley, M., & Fleurinor, S. (2022). Integrating Equity, Diversity, and Inclusion into Social Innovation Education: a Case Study of Critical Service-Learning. Social Enterprise Journal, 18(1), 182-200.
Paños-Castro, J., & Arruti, A. (2021). Innovation and Entrepreneurship in Education, Irreconcilable Differences? A First Approach through Spanish Expert Judgment. International Journal of Innovation Science, 13(3), 299-313.
Rehman, U.U., & Iqbal, A. (2020). Nexus of Knowledge-Oriented Leadership, Knowledge Management, Innovation and Organizational Performance in Higher Education. Business Process Management Journal, 26(6), 1731-1758.
Sadeghi Boroujerdi, S., Hasani, K., & Delshab, V. (2019). Investigating the Influence of Knowledge Management on Organizational Innovation in Higher Educational Institutions. Kybernetes, 49(2), 442-459.
Schildkamp, K., Wopereis, I., Kat-De Jong, M., Peet, A., & Hoetjes, I. (2020). Building Blocks of Instructor Professional Development for Innovative ICT Use During a Pandemic. Journal of Professional Capital and Community, 5(3/4), 281-293.
Warford, M.K. (2017). Educational Innovation Diffusion: Confronting Complexities. In: Sidorkin A., Warford M. (eds) Reforms and Innovation in Education. Science, Technology and Innovation Studies. New York: Springer.