การพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ SPMOE Development of Educational Innovation Creation Skills in the Epidemic Situation of Coronavirus Infection (COVID-19) of Teachers of Sub-District Quality Schools under the Secondary Educational Service Area Office Suratthani Chumphon using SPMOE Supervision Process
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ SPMOE 2) ศึกษาผลการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของครูโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ SPMOE และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ SPMOE กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จาก 44 โรงเรียน จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้สมัครใจ (Voluntary Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กระบวนการนิเทศแบบ SPMOE แบบประเมินทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา แบบประเมินนวัตกรรมการศึกษา และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว
ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษา ร้อยละ 79.62 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ครูได้สร้างสรรค์ผลงานนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 39 นวัตกรรม ผลการประเมินคุณภาพนวัตกรรมอยู่ในระดับเหรียญทอง จำนวน 14 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 35.90 ระดับเหรียญเงิน จำนวน 20 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 51.28 และระดับเหรียญทองแดง จำนวน 5 นวัตกรรม คิดเป็นร้อยละ 12.82 และ 3) ครูมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาทักษะการสร้างสรรค์นวัตกรรมการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยกระบวนการนิเทศแบบ SPMOE ในระดับมาก (4.39)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เนาวนิตย์ สงคราม. (2556). การสร้างนวัตกรรม: เปลี่ยนผู้เรียนให้เป็นผู้สร้างนวัตกรรม.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิสณุ ฟองศรี. (2554). วิจัยชั้นเรียน : หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). ค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2563, จาก https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/
เรวณี ชัยเชาวรัตน์. (2558). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ. ในบังอร เสรีรัตน์ ชาริณี ตรีวรัญญู เรวณี ชัยเชาวรัตน์ (บรรณาธิการ). 9 วิถีสร้างครูสู่ศิษย์. เอกสารประมวลแนวคิดและแนวทางพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับคณะทำงาน โครงการพัฒนาระบบกลไกการหนุนเสริมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาผู้เรียน.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด และเอกรินทร์ สังข์ทอง (2557). โรงเรียนแห่งชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อการพัฒนาวิชาชีพครูที่เน้นผู้เรียนเป็นหัวใจสำคัญ. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,25 (1)93-102
วราลี ฉิมทองดี และวรรณี แกมเกตุ. (2558). โมเดลเชิงสาเหตุของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมของครูโดยมีการคิดสร้างสรรค์เป็นตัวแปรส่งผ่าน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 10(4), 324-332.
วิชัย วงษ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2562). การพัฒนาทักษะสร้างสรรค์นวัตกรรม. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้: กรุงเทพมหานคร.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของครูนวัตกรด้านเทคโนโลยีการศึกษาในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 50 - 61.
ศรีน้อย ลาวัง. (2552). การวิเคราะห์กระบวนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของครูโดยใช้เทคนิคการสืบสอบแบบชื่นชม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล. (2554). Innovation = Inner + Motivation. ในพิชัย ศิริจันทนันท์ (บรรณาธิการ), Platinum Innovation (32-43). กรุงเทพฯ: ไทยคูน –แบรนด์เอจ.ค้นจาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/journal/Education/v22n2/p115-127.pdf.
สิวรี พิศุทธิ์สินธพ. (2554). “รูปแบบการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในสถาบันอุดมศึกษาคาทอลิก.” วารสารศึกษาศาสตร์. 22, 2(กุมภาพันธ์-พฤษภาคม).
อัจศรา ประเสริฐสิน, เทพสุดา จิวตระกูลและจอย ทองกล่อมศรี. (2560). การศึกษาแนวทางการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการทำวิจัยของครู. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 78 - 89
Stamm. (2008). Managing innovation, design and creativity. (2 nded.). Chichester: JohnWiley & Sons.