การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลางที่เรียนเรื่องโยนิโสมนสิการ โดยใช้เทคนิควิธีการคิดแบบวิภัชชวาท The Development Analytical Thinking of Yonisomanasikarn through Vibhajjavada Technique of Matthayomsuksa 5 Students Matthayom Wat Buengthonglang School

Main Article Content

วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้เรียนรู้ด้วยเทคนิควิธีการคิดแบบวิภัชชวาท โดยใช้ระเบียบวิจัยปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมาย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/4 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ 1.หน่วยการเรียนรู้ เรื่อง โยนิโสมนสิการ 2.แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการคิดวิเคราะห์ และ 3.แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ สถิติที่ใช้ คือ สูตรคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์


ผลวิจัยพบว่า


  1. เปรียบเทียบผลการประเมินพฤติกรรมในครั้งที่ 1 และ 2 พบว่ามีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นทุกคน คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 6.50 เป็น 8.94 ผลการประเมินพฤติกรรมในครั้งที่ 2 และ 3 มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 23 คน โดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 67.65
    ไม่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 32.35 คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 8.94 เป็น 9.68

  2. เปรียบเทียบผลการทดสอบในครั้งที่ 1 และ 2 พบว่ามีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์เพิ่มขึ้น
    ทุกคน คะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 1.47 เป็น 3.53 ผลการทดสอบในครั้งที่ 2 และ 3 มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นจำนวน 25 คน โดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 73.53 ไม่มีคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 26.47 มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น จาก 3.53 เป็น 4.65

Article Details

How to Cite
ประทีป ณ ถลาง ว. (2023). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลางที่เรียนเรื่องโยนิโสมนสิการ โดยใช้เทคนิควิธีการคิดแบบวิภัชชวาท: The Development Analytical Thinking of Yonisomanasikarn through Vibhajjavada Technique of Matthayomsuksa 5 Students Matthayom Wat Buengthonglang School. คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(3), 84–98. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/247190
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชาตรี ชุมเสน. (2559). ศึกษาวิเคราะห์ วิภัชชวาทในพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 3, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 98-118.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

พลรพี ทุมมาพันธ์. (2564). การวิจัยเพื่อการเรียนรู้ มองมุมใหม่ในบริบทหลักสูตรฐานสมรรถนะ. สมุทรปราการ: ไอเดียบอกซ์.

พระมหาอรรคพล จอมมงคล และปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2557). พัฒนาการทักษะการตั้งกระทู้ธรรมของสามเณรโดยใช้บล๊อกตามวิธีคิดแบบวิภัชชวาท. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา (OJED),

คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 9, 4 (ตุลาคม - ธันวาคม): 107-121.

ภัชญาดา พรมศร. (2561). การพัฒนาบทเรียนบนเว็บตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่อง คอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย พิชญทรรศน์, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 13, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม): 137-146.

มารุต พัฒผล และวิชัย วงษ์ใหญ่. (2562). การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ:

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรวิทย์ ประทีป ณ ถลาง. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาพระพุทธศาสนา ของนักเรียน

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบกิจกรรม การพัฒนามารยาทไทย

สำหรับนักเรียน (EQFS Model). คุรุสภาวิทยาจารย์, สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. 2, 3 (กันยายน

– ธันวาคม): 89-100.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2554). ทฤษฎีการประเมิน. พิมพ์ครั้งที่ 18 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 55). ฉบับข้อมูลคอมพิวเตอร์: สืบค้นจาก https://www.watnyanaves.net/

สังเวียน จรเกษ และนิลมณี พิทักษ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมกาเรียนรู้โดยการคิดแบบโยนิโสมนสิการ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์, ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 7, 1 (มกราคม - มีนาคม): 188-197.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2562). หลากหลายวิธีสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพเยาวชนไทย. กรุงเทพฯ:

ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2554). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 14 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.