การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 The collaborative learning management using TAI for develop Mathematics achievement of similarity, Mathayomsuksa 3

Main Article Content

นภดล ฝั้นจุมปู

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI เรื่องความคล้าย ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ฯ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ระหว่างหลังเรียนด้วยกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ฯ กับเกณฑ์ร้อยละ 80 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/4 ห้องเรียนปกติ โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 40 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI  มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ และมีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.97 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ฝั้นจุมปู น. (2023). การจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ TAI เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องความคล้าย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3: The collaborative learning management using TAI for develop Mathematics achievement of similarity, Mathayomsuksa 3 . คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(3), 70–83. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250319
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์.

ครรชิต วงศ์เหิม. (2561). การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการสอนแบบร่วมมือเทคนิค TAI สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: บุรีรัมย์.

ชนิสรา อริยะเดชช์. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือ เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เรื่อง การบวก การลบ และการคูณทศนิยมสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม: มหาสารคาม.

ชลธิชา สาชิน. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้กลุ่มร่วมมือแบบTAI เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เรื่องพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ วท.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม: มหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชุม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยะนุช ดรปัดสา. (2564). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือเทคนิค TAI เรื่องเส้นขนานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม., มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์: บุรีรัมย์.

พัฒนา พรหมณี และยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจระศักดิ์ ทัพผา. (2563). แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการ สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่ง ประเทศไทย (สสอท.), 26(1), 59-66. บุรีรัมย์: บุรีรัมย์.

ศิวริน เกณทวี. (2557). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบฮิวริสติกส์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยพิชญทรรศน์, 9(1), 130-134.

สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2563). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2563. กรุงเทพฯ:สำนักงานทดสอบการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์: โรงพิมพ์ประสานการพมพิมพ์.

อัมพร ม้าคนอง. (2546). คณิตศาสตร์:การสอนและการเรียนรู้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและ เอกสารทางวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อัมพร ม้าคนอง. (2552). การพัฒนามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้โมเดลการได้มาซึ่งมโนทัศน์และคำถามระดับสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Ebel Rorbert L. (1965). Measuring Educational Achievement. New Jersey: Pentice-Hall, Inc.

Johnson, D. W., & Johnson, R. (1974). Instructional goal structure: Cooperative, competitive, or individualistic. Review of Educational Research, 44, 213–240.

Slavin. (1995). Cooperative Learning Theory, Researchand Practice. (2nd ed.). Massachsetts: A Simom & Schuster.