การพัฒนาสมรรถนะครูในสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน ที่เสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ Developing teacher competency in small scholl throughout Whole school approach that enhances learners'competency in literacy with the professional learning community process.

Main Article Content

ทยาตา รัตนภิญโญวานิช

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียนให้สามารถพัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านออกเขียนได้ด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการชุมชนแห่ทางวิชาชีพ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียนด้วยกระบวนการชุมชนแห่งการชุมชนแห่งทางวิชาชีพ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย
ในการศึกษา คือ ครูและผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง เป็นกลุ่มทดลอง 1 แห่ง และกลุ่มควบคุม 1 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลโดย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


       ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน  พบว่า ครูในโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทั้ง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและ
การเขียนดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญทุกระดับชั้น  พัฒนาสื่อ
การเรียนรู้ที่หลากหลายช่วยให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจบทเรียนได้ดี และเน้นการประเมินตามสถาพจริงมากขึ้น
และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะด้านการอ่านของนักเรียนก่อนและหลังพัฒนาสมรรถนะครูสถานศึกษาขนาดเล็กทั้งระบบโรงเรียน พบว่า ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน
(O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2565 วิชาภาษาไทยสูงกว่าระดับประเทศ และผู้เรียนโรงเรียน
กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยวิชาภาษาไทยสูงกว่า โรงเรียนกลุ่มควบคุม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2553, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาวิจัยรูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 3.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. http://www.onec.go.th/index.php/book/BookView/10

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. http://www.lertchaimaster.com/doc/The-national-educational-standards-oct2561.pdf

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). การนำมาตรฐานการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติ: บทเรียนจากต่างประเทศ. นนทบุรี: เซนจูรี่ จำกัด.

Education Improvement Commission. (2000). School Improvement Planning a Handbook for Principals, Teachers, and School Councils. Toronto, Canada: Education Improvement Commission.

Mitchell, C. and Sackney, L. (2000). Profound Improvement: Building Capacity for A Learning Community. Lisse, The Netherland: Swets&Zeitlinger.

Moore, R. A., & Helms, M., & Usselman, M. (2018, June), Effective Design-based Implementation Research Using Complex Systems Modeling (Fundamental) Paper presented at 2018 ASEE Annual Conference & Exposition, Salt Lake City, Utah. 10.18260/1-2—30354

Ubaidullah, A. M.,& Islami J.M. (2016, June). Design Based Implementation Research (DBIR) for Sustaining Innovation in Classroom Instruction. https://www.researchgate.net/publication/322200259_DESIGN_ BASED_IMPLEMENTATION_RESEARCH_DBIR_FOR_SUSTAINING_INNOVATION_IN_CLASSROOM_INSTRUCTION

Willer D. (1986). Scientific Sociology: Theory and Method. Englewood Cliff, N.J.: Prentice-Hall.