การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในประเทศไทย The Development of a Learning Management System Platform on Historical Buddhist Species for Facilitating of School Botanical Gardens in Thailand

Main Article Content

อาคีรา ราชเวียง
พงษ์ศักดิ์ ผกามาศ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อสร้าง ทดสอบ ทดลองใช้ ประเมิน และเสนอแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในประเทศไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน นักเรียน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 40 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน วิธีดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ 2) ขั้นการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม 3) ขั้นการทดสอบการใช้งานและประเมินผล และ 4) ขั้นการปรับปรุงสมรรถนะของแพลตฟอร์ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยแสดงค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


          ผลการวิจัยพบว่า 1) จากการทดลองใช้แพลตฟอร์มมีผลการประเมินประสิทธิภาพการใช้งานจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากและผลการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานอยู่ในระดับมากเช่นกันโดยเห็นว่าเป็นระบบที่เหมาะสมสำหรับการเรียนรู้และมีการใช้งานที่ไม่ยุ่งยาก 2) แพลตฟอร์มนี้มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยเว็บไซต์ ฐานข้อมูลครูผู้สอน และนักเรียน บันทึกความรู้ แบบประเมินความรู้ กระดานสนทนา คลังความรู้ และภาพกิจกรรมต่าง ๆ โดยกระบวนการสนับสนุนการจัดการความรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ราชเวียง อ., & ผกามาศ พ. (2023). การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับไม้พุทธประวัติ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในประเทศไทย: The Development of a Learning Management System Platform on Historical Buddhist Species for Facilitating of School Botanical Gardens in Thailand. คุรุสภาวิทยาจารย์, 4(3), 147–162. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/250918
บท
บทความวิจัย