การศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการจัดการเรียนออนไลน์ ด้วยระบบเปิดสําหรับมหาชน (Mahidol MOOC) ของมหาวิทยาลัยมหิดล STUDY OF PROBLEM AND NEED OF ONLINE INSTRUCTION VIA MAHIDOL’S MASSIVE OPEN ONLINE COURSE (Mahidol MOOC)

Main Article Content

ชนาภรณ์ ปัญญาการผล
ขจรศักดิ์ กั้นใช้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) อภิปรายสภาพการจัดการเรียนออนไลน์ 2) ศึกษาปัญหาการจัด การเรียนออนไลน์ และ 3) ศึกษาความต้องการการจัดการเรียนออนไลน์ โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ อาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์ จำนวน 18 ท่าน และผู้เรียนที่ใช้ระบบเปิดสำหรับมหาชน จำนวน 2,045 คน เป็นอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาจำนวน 15 คน คัดเลือกโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เฉพาะอาจารย์ ในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และผู้เรียนจำนวน 500 คน คัดเลือกโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบ บังเอิญ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 2 ชุุด คือ แบบสอบถามสำหรับอาจารย์ผู้พัฒนารายวิชาออนไลน์ ด้วยระบบเปิดสำหรับมหาชน และแบบสำหรับผู้เรียนออนไลน์ด้วยระบบเปิดสำหรับมหาชน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


โดยมีผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาของอาจารย์ฯ พบว่า การออกแบบข้อสอบสามารถทำรููปแบบได้จำกัด ควรเพิ่มเครื่องมือที่ทำให้ออกแบบข้อสอบได้หลากหลายมากขึ้นจึงควรมีการออกแบบเมนููอัพโหลดรููปภาพ อย่างง่าย และควรมีการเพิ่มเติมและแก้ไขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้รายวิชาออนไลน์มีประสิทธิภาพ ทันสมัย และเป็นปัจจุบัน 2) ความต้องการของอาจารย์ฯ พบว่า ผลการศึกษาความต้องการความสามารถ ในด้านการเข้าใช้งานเพื่อพัฒนารายวิชาออนไลน์มีระดับความต้องการอยู่ในระดับมาก 3) ปัญหาของผู้เรียนฯ พบว่า มี 4 ด้านคือ ด้านเนื้อหา ด้านแบบทดสอบ ด้านการใช้งานระบบ MUx และด้านอื่น ๆ และ 4) ความต้องการ ของผู้เรียนฯ พบว่า ผู้เรียนต้องการให้เพิ่มรายวิชาให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ณฐภัทร ติณเวส และฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2559). การศึกษารูปแบบการจัดการศึกษาออนไลน์ระบบเปิด

แบบ MOOC ของอุดมศึกษาไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University.

ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน – ธันวาคม 2559, หน้า 1463-1479.

สาลินันท์ เทพประสาน. (2550). รายงานการวิจัยเรื่อง การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการใช้

e-Learning เพื่อการเรียนการสอนในสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา

วาสุกรี. อยุธยา: สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล, วิทยาเขตพระนครศรีอยุธยา วาสุกรี.

วรชัย วิภูอุปกรโครต และคณะ. (2565). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ระบบเปิด (MOOC) ที่มี

ประสิทธิภาพของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

ปีที่ 11 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2565, หน้า 47-63.

Min Young Doo, et. al. (2020) Mooc instructor motivation and career development.

Journal Distance Education, 41(1), 26-47. Retried from www.tandfonline.com/doi/

abs/10.10580/01587919. 2020.1724770.

Shannon Skecher, et. At. (2020). Connecting online students to their higher learning institution, Distance Education, 41(1), 128-147. Retried from www.tandfonline.com/doi/

full/10.1080/01587919.2020.1724771.