การพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้โครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน Developing Entrepreneurial characteristics for Undergraduate Students through Project-Based Learning of Business Plan

Main Article Content

รัตนา อัตภูมิสุวรรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ด้วยผ่านโครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน 2) เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ผ่านโครงงานแผน ธุรกิจเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่กำลังศึกษาในรายวิิชา การเป็นผู้ประกอบการ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 92 คน ระหว่างวันที่ 3 กรกฎาคม – 22 ตุุลาคม 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ การทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กล่าวคือ ความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง ความมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ ความเชื่อมั่นในตนเอง สุขภาพ เครือข่ายความสัมพันธ์ จริยธรรมผู้ประกอบการ การเงินและการลงทุุน และการบริหารความเสี่ยง ล้วนเป็นคุณสมบัติสำคัญ สำหรับผลสัมฤทธิ์การจัด การเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการของผู้เรียนโดยกระบวนการเรียนรู้โครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน พบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่ากระบวนการเรียนรู้ในรายวิชาผ่านโครงงานแผนธุรกิจเป็นฐาน มีผลทำให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีความรู้เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม. (ออนไลน์). คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ. สืบค้น วันที่ 14 มิถุนายน 2566 จาก https://www.dip.go.th/th/category/2020-05-22-19-38-58/2020-05-22-20-27-28

จินตนา พรายชมภู และธดา สิทธิ์ธาดา. (2565). การบริหารจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพของครูในสถานศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา (บ.ก.), การประชุมวิชาการการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 (หน้า 1034). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ชนิทร์ ชุณหพันธรักษ์. (2541). การจัดการธุรกิจขนาดย่อม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฎสวนดุสิต.

ณัฐวุฒิ วิเศษ. (2552). คุณลักษณะและความตั้งใจที่จะเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากวิทยาลัยราชพฤกษ์.

ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพย์วิสุทธิ์.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำ

ตนเอง. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 46(1), 223-224.

ธีรยุส วัฒนาศุภโชค. (2542). “Entrepreneurship: ฤาจะเป็นฟางเส้นสุดท้ายต่อระบบเศรษฐกิจไทย” จุฬาลงกรณ์วารสาร, 12(45), 65-75.

นารา กิตติเมธีกุล. (2563). แนวคิดการพัฒนาจิตวิญาณของการเป็นผู้ประกอบการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(3), 278-290.

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. (2564). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศษ 141 จิตวิทยาสำหรับครู. สืบค้น วันที่ 14 พฤษภาคม 2567 จาก https://ir.swu.ac.th/jspui/handle/123456789/16616.

รัชพล จอมไตรคุป และวัชรพงษ์ อินทรวงศ์. (2558). ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้ประกอบการ. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 2(1), 249-286.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2542). SMEs: เสาหลักของอุตสาหกรรมกู้ชาติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

อาทิตย์ วุฒิคะโร. (2543). อุดมศึกษากับการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ประกอบการ. จุฬาลงกรณ์วารสาร, 12(46), 39-48.

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Attitude theory and measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Sons.

Majid, I. A., & Koe, W.-L. (2012). Sustainable Entrepreneurship (SE): A Revised Model Based on Triple Bottom Line (TBL). International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 2(6), 293-310.

Onuoha, G. (2007). Entrepreneurship. AIST International Journal, 10, 20-32.

Schumpeter, J.A. (1934). The theory of Economic Development. New York: Oxford University Press.