การบริหารสถานศึกษาที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา และ 3) ศึกษาอิทธิพลการบริหารสถานศึกษาที่มีต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการและหัวหน้าฝ่าย จำนวน 279 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิชาการด้านการบริหารงานงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และ ด้านการบริหารงานทั่วไปอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ด้านความสามารถในการพัฒนาให้นักเรียนนักศึกษามีทัศนคติทางบวก ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาสถานศึกษาและด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในสถานศึกษา อยู่ในระดับมาก และ 3) การบริหารสถานศึกษา มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ร้อยละ 47.70
Abstract
The objectives of this research were : 1) to study schools administration , 2) to study schools effectiveness, and 3) to study schools administration affected to schools’effectiveness.The sample were 279 directors, deputy director, and head of departments. The research instrument was a questionnaire with 0.97 reliabilities. The statistic for data analysis were mean, standard deviation, and multiple regression analysis.
The results of this research were as follows : 1) schools administration as a total and each aspect including academic administration, budget management, personnel management, and general administration were at a high level, 2) schools effectiveness as a total and each aspect including abilities in increasing students’ learning achievement, abilities in developing students’ positive attitude, abilities in changing and developing schools, and abilities in schools’ problem-solving were at high level, and 3) schools administration affected to schools’ effectiveness as statistically significant at .05 level were 47.70 percent.
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการคุรุสภาวารสารไม่จาเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนาทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทาการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: ที.เอส.บี. โปรดักส์.
ชนะ ทองเหลือง. (2558). การบริหารงานสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสานักงานการศึกษาเอกชน อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 192-193.
นัฐฐยา พิพัฒน์นราธร และนิษฐ์วดี จิรโรจน์ภิญโญ. (2561). การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1): 223.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ถาวร เส้งเอียด. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.การบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยุกตนันท์ หวานฉ่ำ. (2555). การบริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน ในอำเภอคลองหลวง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต1. สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. คณะครุศาสตร์อุสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
วรรณี แกมเกตุ. (2551). เอกสารคำสอนวิชา 2702621 วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วานิชย์ สาขามุละ. (2559). ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สุวกิจ ศรีปัดถา. (2553). ทฤษฎีและกลยุทธ์การบริหาร. มหาสารคาม: เอกสารประกอบการบรรยาย, มปท.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). เอกสารประกอบการพัฒนาหลักสูตรผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา.กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
. (2551). แนวดำเนินงานของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: คุรุสภา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). การประกันคุณภาพสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.
เอกชัย ค้าผล. (2558). การบริหารระบบคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1.วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Hoy, Wayne K. & Cecil G. Miskel. Educational Administration Theory Research and Practice.
th ed. Singapore : McGraw-Hill, 1991.
Jean Claude Ah-Texk. (2013). “Principals’ perceptions of “quality” in Mauritian schools using the Baldrige framework,” Journal of Educational Administration.
Mott, Paul E. (1972). The characteristic of efficient organizations. New York: Harper & Row.
Ruhl, M.A. (1992). The school effectiveness: A strategy for sustainable development. Maindonhead: Mc Grow-Hill.
Sergiovanni, Thomas. J. (1991). The principal ship : A reflective practice : perspective.(4th ed.).
Boston: Allyn and Bacon.