ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำสับปะรดกวน: การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำสับปะรดกวน และเพื่อถอดบทเรียนผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) กลุ่มผู้เข้าร่วมกระบวนการวิจัยด้วยความสมัครใจ เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 18 คน ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าดินแดงออก จังหวัดพัทลุง จำนวน 5 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (observation participation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผลการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำสับปะรดกวนของปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนบ้านท่าดินแดงออก จังหวัดพัทลุง มีการสืบทอดผ่านกระบวนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การบอกเล่าสูตรและสัดส่วนวิธีการทำสับปะรดกวน การสาธิตการเรียนรู้จากบรรพบุรุษเพื่อให้เห็นถึงกระบวนการขั้นตอนและกลวิธีในการทำสับปะรดกวน และ การปฏิบัติจริงซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้สู่การพัฒนาสูตรเฉพาะของแต่ละบุคคล และผลจากการถอดบทเรียน พบว่า กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานด้วยกิจกรรม 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติการ การประเมิน และการสรุปผล เป็นวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคม สามารถพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21 ทั้ง 8 ด้าน คือ 1) การคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) การสร้างสรรค์และนวัตกรรม 3) ความเข้าใจความแตกต่าง 4) การมีภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม 5) การสื่อสารและรู้เท่าทันสื่อ 6) คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี 7) อาชีพ และ 8) การมีคุณธรรมจริยธรรม


Abstract


          This research aimed to study local wisdoms for making preserved pineapple, and to obtain lessons learned on Project-based learning management. Participants in this study comprised eighteen voluntary children and youth, and five folk philosophers in the community of Tha Dindang Ork, Phatthalung. Action research was used in this study. Data were collected through participatory observation techniques, and in-depth interview. The findings revealed that local wisdoms on preserved pineapple in the community was transmitted through three learning methods: Telling, Demonstrating, and Practicality. The developed Projected-based learning management process through the local wisdom, consisted of 4 activities: Planning, Acting, Evaluating, and Concluding, was appropriated and consistent with community life style and social change situations. These enhanced 8 aspects of child and youth skills in the 21st century as follows: 1) Critical thinking, 2) Creative and innovative, 3) Understanding differences, 4) Leadership and teamwork, 5) Communication and media awareness, 6) Computing and technology, 7) Profession, and 8) Morality and ethics.

Article Details

How to Cite
ราชพลสิทธิ์ อ., & สุวรรณโณ ผ. ด. (2020). ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำสับปะรดกวน: การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน เพื่อการพัฒนาทักษะเด็กและเยาวชนในศตวรรษที่ 21. คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 107–118. สืบค้น จาก https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/withayajarnjournal/article/view/241768
บท
บทความวิจัย

References

เกษตรชัย และหีม. (มปป.). การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเยาวชนไทย 4.0 อย่างครบวงจร

และยั่งยืน. สงขลา. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ปริศนา มัชฌิมา. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะกับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21: การเรียนรู้ที่เน้น

ผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน. วารสารปาริชาติ, 31(1), 1-21.

ญาณิศา บุญพิมพ์, นภัส ศรีเจริญประมง และ วราลี ถนอมชาติ. (2562). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการใช้

โครงการเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของเด็กปฐมวัยในท้องถิ่นเขตภาคตะวันออก. วารสารวิจัยรำไพ-

พรรณี, 13(1), 107-118.

พิชญาพร ประครองใจ. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐาน. วารสารศิลปากร, 40(1), 155-163.

พิมณิชา พรหมมานต, หทัยรัตน์ ทับพร, และกรรณิการ์ สัจกุล. (2562). คนโป๊ ะ : ภูมิปัญญาท้องถิ่นและการ

สืบทอดการทำประมงพื้นบ้านสมุทรสงคราม. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(2), 51-66.

ภัทรภร ผลิตากุล. (2560). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงการเป็นฐานเพื่อประสบการณ์การสอนดนตรี

ของนักศึกษาคณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยศิลปากร

ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(2), 694-708.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิทธิพล อาจอินทร์ และ ธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์. (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงการเป็นฐานใน

รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 1(1), 1-16.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนา

หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

วิมลศิริ รุจิภาสพรพงศ์. (2550). การสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นและการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน :

กรณีศึกษาการทำข้าวหลามในชุมชนพระงาม จังหวัดนครปฐม. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21.

กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ OpenWorld.

ศิริอร นพกิจ. (2561). การจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนา-

หลักสูตร, 8(1), 53-66.

อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์ และคณะ. (2660). โรงเรียนบ้านในสวน “อ่าน กิน เล่น” เพื่อการสืบทอดภูมิ-

ปัญญาอาหารพื้นบ้านกับการเสริมสร้างสุขภาพสำหรับเด็กและเยาวชน. รายงานโครงการ.

กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria:

Deakin University.

Moursund, D. (2009). Project-Based Learning: Using Information Technology. New Delhi:

VinodVasishtha for Viva Books Private limited.

Yoelao, Dusadee., et al. (2014). The study of PBL-based learning management from the

Knowledge Building Project to enhance the skills of the 21st century of children and youth: based on the success experiences of Thai schools. Bangkok: Limited Partnership Thippawisut.